...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2557
หน้า: 25-36
ประเภท: บทความวิจัย
View: 173
Download: 214
ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามทฤษฎีพหุปัญญาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Effects of Mathematical Learning Activity Application Using Multiple Intelligences Affecting Learning Achievements and Abilities in Mathematical Connection of Prathom Suksa 6 Students
ผู้แต่ง
บรรจง พลาชัย, เพลินพิศ ธรรมรัตน์
Author
Banchong Palachai, Banchong Palachai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ  1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องรูปสี่เหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญากับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70  ของคะแนนเต็ม  2)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามทฤษฎีพหุปัญญา  และ 3)  เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญากับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านหนองฮาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จำนวน 25 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ t-test  Dependent  Samples และค่าสถิติ  t-test  for  One Sample

ผลการวิจัยพบว่า

1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญา สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ  70  ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.  ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญา  สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were to: 1) compare the students’ mathematical learning achievements entitled “Quadrilaterals” for Prathom Suksa 6 students taught by multiple intelligences with the criterion set of 70  percent, 2) compare the students’ mathematical achievements gained in the title of “Quadrilaterals”before and after being taught by mathematical activities through  multiple intelligences, and 3)  compare the mathematical connection abilities of Prathom Suksa 6 students taught by multiple intelligences with  70  percent criterion set.

The sampling group consisted of 25 Prathom Suksa 6 students in the second  semester of 2012 academic year from Ban Nong Hang School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3. The samples were selected by purposive sample technique. The research instruments consisted of the lesson plans based on multiple intelligences, a test of learning achievements, and a test on mathematical connection abilities. Data were analyzed by using t-test (Dependent Samples) and t-test (One Sample).

The effects of this study were as follows :

1.  The mathematical learning achievements of the students taught through multiple intelligences activities were statistically  higher than the 70 percent criterion set at the .01 level of significance.

2.  The average score of mathematical learning achievements of the students after being taught by multiple intelligences activities was higher than those of before learning at the .01 level of significance.

3.  The mathematical connection abilities of the students taught through  multiple intelligences activities were  statistically higher than the set  70 percent criterion at the .01 level of significance.

คำสำคัญ

กิจกรรมการเรียนรู้, พหุปัญญา, ความสามารถในการเชื่อมโยง

Keyword

Learning activities, Multiple intelligences, Connection abilities
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 53

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,310

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,299

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033