...
...
เผยแพร่: 30 มิ.ย. 2552
หน้า: 109-116
ประเภท: บทความวิจัย
View: 915
Download: 242
Download PDF
การศึกษารายกรณีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีปัญหาในการอ่าน และการเขียนภาษาไทย โรงเรียนบ้านน้ำพุคุรุราษฎร์สงเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1
A Case Study of Prathom Suksa 4 Students with Thai Reading and Writing Problems at Ban Namphu Khuru Rat Songkhrau School Under the Office of Sakon Nakhon Educationl Service Area 1
ผู้แต่ง
วนิดา หนุดตะแสง, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, สำราญ กำจัดภัย
Author
Wanida Nudtasaeng, Bhumbhong Jomhongbhibhat, Sumran Gumjudpai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและสาเหตุของการขาดความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนที่ทำการศึกษารายกรณี 2) ศึกษาแนวทางการช่วยเหลือ และดำเนินการช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย 3) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนที่ทำการศึกษารายกรณี ก่อนและหลังการได้รับการศึกษารายกรณี โดยใช้แบบฝึกความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย 

กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนบ้านน้ำพุคุรุราษฎร์สงเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 ที่จะเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2550 ที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย จำนวน 3 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยมี 2  ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การเยี่ยมบ้าน อัตชีวประวัติ บันทึกประจำวัน แบบสอบถาม ระเบียนสะสม 2) เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนภาษาไทยก่อนและหลังการได้รับการศึกษารายกรณี และ แบบฝึกความสามารถในการอ่าน และการเขียนภาษาไทย ภายหลังการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยสังเคราะห์ วิเคราะห์ แปลความหมาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า

1. สาเหตุของการขาดความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนที่ทำ การศึกษา ได้แก่ ปัญหาส่วนตัวนักเรียน ปัญหาจากครอบครัว และปัญหาจากการสอนของครู

1.1 ปัญหาส่วนตัวนักเรียน ที่ทำให้นักเรียนขาดความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย ได้แก่ นักเรียนขาดความสนใจในการเรียน ไม่ตั้งใจเรียน ไม่ร่วมกิจกรรมการเรียนกับเพื่อนขาดความรับผิดชอบไม่ทำการบ้านด้วยตนเองและส่งงานไม่ทันเวลา ไม่กล้าซักถามครูเมื่อไม่เข้าใจในเวลาเรียน เป็นเด็กที่ขาดความมั่นใจในตนเอง ไม่กล้าแสดงออก และขาดทักษะในการอ่านและการเขียนหนังสือ ชอบอยู่คนเดียวไม่มีเหตุผลเอาแต่ใจตนเอง

1.2 ปัญหาจากครอบครัว ที่ทำให้นักเรียนขาดความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย มีสาเหตุจากทางครอบครัวบิดา มารดาเสียชีวิต หรือไปทำงานต่างจังหวัด อาศัยอยู่กับญาติ การศึกษาของบิดามารดาอยู่ในระดับต่ำ ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว มีความห่างเหินกัน ขาดความอบอุ่น และการเลี้ยงดูที่เอาใจเด็กเกินไป

1.3 ปัญหาจากการสอนของครู ที่ทำให้นักเรียนขาดความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย มีสาเหตุจาก เทคนิควิธีการสอนเกี่ยวกับการพัฒนาการทางภาษาไทยไม่เหมาะสม บุคลิกภาพของครูไม่เหมาะสมตลอดจนการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนไม่เอื้ออำนวยกับการจัดกิจกรรมส่งผลให้นักเรียนไม่ตั้งใจเรียน เช่น มีเสียงรบกวน มีเพื่อนที่ส่งเสียงดังตลอดเวลาส่งผลให้พฤติกรรมทางการเรียนของเด็กที่เรียนช้าขาดสมาธิในการเรียน

2. ภายหลังได้รับการศึกษารายกรณี นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 ราย มีพฤติกรรมในการเรียนที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีความสนใจในการเรียนเข้าใจตนเองไปในทางที่ดีมีเจตคติที่ดีในการเรียนภาษาไทยมากขึ้น และมีพัฒนาการความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจหรือดีขึ้นกว่าเดิม

Abstract

The objectives of this study were : 1) to study the problems and causes of Lacking ability in reading and writing Thai among the students being studied, 2) to examine the ways to help and deal with students who had problems in  reading and writing Thai, and 3) to compare ability in reading and writing Thai among the students being studied before and after they were investigated individually using dills and practices of ability in  reading and writing Thai.

The sample was a group of 3 students encountering problems in reading and writing Thai,who were at the third year of Prathom Suksa level in academic year 2006 at Ban Namphu khuru Rat Songkhrau School under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 1 and were going to be at the fourth year Prathom Suksa level in academic year 2007. The instruments used comprised 2 types : 1) Type one was used for collecting data from the sample like observation, interview, home visiting, auto-biography, diary, questionnaire and cumulative record ; 2) The other type  was used to solve problems for enhancing ability in reading and writing Thai like a test to measure achievement of reading and writing Thai before and after they were investigated, and drills and practices of ability in reading and writing Thai. After the data were collected, the researcher synthesized, analyzed and interpreted them. Statistics used to analyzed the quantitative data were percentage.

The results revealed as follows :

1. The causes of lacking ability in reading and writing Thai among the students examined connected with students’ personal problems, their family’s problems and their teacher’s teaching problem.

1.1 The students’ personal problem that made them lack ability in reading and writing Thai was their lacking interest in learning, no intention to learn, no participation in activity with their class mates, lack of responsibility in doing home work themselves, being late in submitting a job, being afraid of asking their teacher when they did not understand what they were studying, lack of skill in reading and writing, having a preference for being alone, having no reason and being self-centered.

1.2 The students’ family problems that made them lack ability in reading and writing Thai was caused by losing their parent’s life or their parents’ work place in another province, their living with a relative, their parents’ low level of education, distant relations with family members, feeling insecure and being raised with their having been too much pleased.

1.3 Their teachers’ teaching problem that made them lack ability in reading and writing Thai was caused by inappropriate teaching technique concerning Thai development, teacher’s unsuitability of personality and class climate which was not condusive to managing activity. All resulted in their intention to study were a nuisance and ongoing students’ noise which made those slow learners lack concentration.

2. After all the 3 cases of students were investigated, their behavior of  learning was improved. They were interested in learning, better understood themselves, had better attitude toward learning Thai and satisfied development of  ability  in reading and writing Thai judged by a satisfactory or improving criterion.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 2

วันนี้: 128

เมื่อวานนี้: 583

จำนวนครั้งการเข้าชม: 805,148

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033