...
...
เผยแพร่: 30 มิ.ย. 2552
หน้า: 101-107
ประเภท: บทความวิจัย
View: 139
Download: 69
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
A Development of Science Instructional Activities for Enhancing Creative Thinking of Prathom Suksa 3 Students
ผู้แต่ง
มัลลิกา โพธิ์ศรี, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, ประยูร บุญใช้
Author
Manlika Posri, Phoompong Jomhongpipat, Prayoon Boonchai

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังใช้กิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังใช้กิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนด

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียน 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านวานรนิวาส (ราษฏร์บำรุง) อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จำนวน 39 คน โดยเลือกแบบเจาะจง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการคิดสร้างสรรค์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนวิจัย One-Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. การใช้กิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ทำให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. การใช้กิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับสูงมาก

 

Abstract

The purposes of this research were : 1) to develop the science instructional  activities for enhancing creative thinking of Prathom Suksa 3 students; 2) to  compare the creative thinking of  the  students  who  learned  through  the science  instructional activities; 3) to compare  the  learning achievements  of  the students  who  learned through the science instructional activities; 4) to compare the posttest  average score of learning achievements of  the  students  who  learned  through  the  science  instructional  activities  with  the  criterion.

The sampling  group consisted of 39  Prathom Suksa 3 students, selected by purposive random sampling from Ban Wanonniwat School, Wanonniwat district, Sakon Nakhon Province, in the second semester of the academic year 2008.

The research tools were science lesson plans which emphasized creative thinking, a learning achievement test, and a creative  thinking  test.  The  research followed the one-group pretest-posttest design. The data were analyzed by means of  mean, standard  deviation  and  t-test (Dependent  Samples).

The  results  of  this  research  were  as  follows :

1. The posttest average score of creative thinking of  the students who learned through the developed activities was higher than the  pretest  average  score with  the .01  level of  statistical  significance.

2. The  posttest average  score of  learning achievements of the students  who learned through  the developed activites was  higher than  the pretest average  score  with  the  .01  level of  statistical  significance.

3. The  learning  achievements of  the students who  learned  through  the developed  activities  was  in  the “high” level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 2

วันนี้: 215

เมื่อวานนี้: 583

จำนวนครั้งการเข้าชม: 805,235

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033