...
...
เผยแพร่: 30 มิ.ย. 2552
หน้า: 85-92
ประเภท: บทความวิจัย
View: 359
Download: 216
Download PDF
การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง พันธะเคมี ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 4 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาและการสอนแบบร่วมมือ
Action Research to Develop Learning Activities on the Chemical Bond for Mathayom Suksa 4 Students by Using CIPPA and the Cooperative Learning Model
ผู้แต่ง
อังสนา เข็มใคร, สำราญ กำจัดภัย, อนุรัตน์ สายทอง
Author
Aungsana Kemkrai, Sumran Gumjudpai, Anurat Saithong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพันธะเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาและ การสอนแบบร่วมมือ รูปแบบการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมหาชัยวิทยาคม ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาและการสอนแบบร่วมมือ จำนวน 8 แผน แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกพฤติกรรมการเรียน แบบบันทึกการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน บันทึกประจำวันของผู้วิจัย แบบทดสอบย่อย และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณซึ่งมีขั้นตอน คือ ดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่วางไว้พร้อมกับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยนำข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์และจากการบันทึก มาวิเคราะห์ วิจารณ์ ตีความและรายงานผลในลักษณะการบรรยาย เพื่อนำผลไปปรับปรุงการเรียนการสอนในครั้งต่อไป จากนั้นทำการทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติคือ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า การใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาและการสอนแบบร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาวิชาที่เรียน นักเรียนมีความสนใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากยิ่งขึ้น มีการใช้กิจกรรมและสื่อการสอนที่หลากหลาย ส่งเสริมให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ต่อกันในการช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ ได้ร่วมมือกันในการทำงาน โดยมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกภายในกลุ่มอย่างชัดเจน ช่วยกระตุ้นความสนใจให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และเข้าใจบทเรียนดียิ่งขึ้น เกิดความสนุกสนาน และได้พัฒนาทักษะกระบวนการในการเรียนรู้ และการทำงานร่วมกัน เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองด้วยการได้ลงมือปฏิบัติจริง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์เฉลี่ยร้อยละ 73.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70 และร้อยละของจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ คือ เฉลี่ยร้อยละ 90.91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

Abstract

The purposes of study were to develop teaching-learning activities  for  a  student  centered approach based on use of CIPPA and the Cooperative Learning Model, and develop learning  achievement  in Chemistry on Chemical Bond  for  Mathayom Suksa 4  (Grade 10).  The  Study  followed  action  research  team  consisted of  the research. The  target group were 33 person from Mahachai wittayakom school, Plapak  district, Nakhon  Phanom province.  The study was during in the second semester of  the 2007 academic  year.  The  instruments employed  in  the  study  included  8  lesson  plans  using CIPPA  and the Cooperative Learning  Model, an interview form, a learning  behavior record  form,  a  researcher daily,  unit  test  and  learning  achievement  test.

Collecting  of  both  the  qualitative  and  quantitative  data  were  done  at  each  step of teaching by  following  the  premeditated  lesson  plans,  collecting  the  qualitative  data, observation, interview and recording. The analysis of qualitative data used  criticizing  and  interpreting. Descriptive report was  presented  before  adjust to  the  next  learning/teaching.  The statistical analysis of  quantitative  of  learning  achievement was  using  mean  and  percentage.

The results  showed  that  the CIPPA  and  the Cooperative  Learning  Model  has  fostered on teaching/learning activities. Organized with various activities and  instructional  media was  encourage the  students  to  collaborate  with  each  other  for  learning,  work  together  and  specify  the  task of  each  members  of  the  group  clearly. The students  were  allowed to participate in the activities and more interested in  the subject.  Students  can increased knowledge enthusiast  in  happy  learning  skill  and  made  a  self-learning  from  authentic  activities.  All  of  these  can  be  used  and  applied  in  their  daily  life.

The  Achievement  score  was  found  90.91 %  which  higher  than  the 80 % of  the  students  passed,  and  the  school’s  standard  criterion  of  passing  76.92  %,  that  made  higher-than 70%  of  criteria score.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 23

วันนี้: 855

เมื่อวานนี้: 873

จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,844

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033