...
...
เผยแพร่: 30 มิ.ย. 2552
หน้า: 69-75
ประเภท: บทความวิจัย
View: 525
Download: 219
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยโดยบูรณาการทฤษฎีพหุปัญญาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
A Development of the Thai Instructional Activities by Integrating the Theory of Multiple Intelligences for Prathom Suksa 2 Students
ผู้แต่ง
สมัย ขจรโมทย์, ประยูร บุญใช้, สำราญ กำจัดภัย
Author
Samai Khajonmote, Prayoon Boonchai, Sumran Gumjadphai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยโดยบูรณาการทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 26 คน ของโรงเรียนบ้านบัวขาว (วันครู 2500) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยบูรณาการทฤษฎีพหุปัญญา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดเจตคติต่อการเรียนภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test แบบ Dependent Samples)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยโดยบูรณาการทฤษฎีพหุปัญญา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยโดยบูรณาการทฤษฎีพหุปัญญา มีเจตคติต่อการเรียนภาษาไทยหลังเรียนอยู่ในระดับสูง

Abstract

The  purpose of  this research was to develop  the  Thai Instructional activities by integrating Theory of  Multiple Intelligences for Prathom Suksa 2 students. The Subjects were 26 Prathom Suksa 2 Students of Ban Buakhao (Wankru 2500) School in the first semester of 2008 academic year, under the Office of  Kalasin Educational Area 3, selected by purposive sampling. 

The instruments used were : a learning plan integrating Theory of Multiple Intelligences, a learning achievement test and attitude towards Thai learning test. The collected data were analyzed by means of arithmetic means, standard deviation, and t-test. (Dependent Samples).

The finding of this research were as follow :

1. The posttest average score of learning achievement of the students learned through the instructional activities was higher than the pretest average score at the .01 level of significance.

2. The average score of attitude towards the instructional activities was at high level. 


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 17

วันนี้: 908

เมื่อวานนี้: 873

จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,897

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033