บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน 3) ศึกษาเมตาคอกนิชันของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน 4) ศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 จำนวน 46 คน โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ซึ่งได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test ชนิด Dependent Samples
ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจนั้น มีประสิทธิภาพ 79.49/77.33 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) เมตาคอกนิชันของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) เจตคติของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชันอยู่ในระดับดีมาก
Abstract
The purposes of this research were : 1) to develop instructional activities using metacognition strategies to enhance English reading comprehension ability of Mathayom Suksa 3 ; 2) to compare reading comprehension ability of Mathayom Suksa 3 students before and after using the instructional activities using metacognition strategies ; 3) to compare metacongition before and after using the instructional activities using metacognition strategies; and 4) to study attitude toward learning activities. The subjects were 46 Mathayom Suksa 3/7 students of Renunakhonwittayanukul School in the first semester of academic year 2008. They were selected by purposive selection. The design of this study was One Group Pretest-Posttest Design. The data were analyzed by using dependent samples t-test.
The results of this study were as follows : 1) The activities of the instructional activities using metacognition strategies to enhance English reading comprehension ability obtained 79.49/77.33 efficiency which was higher than the set criterion of 75/75. 2) The posttest reading comprehension ability of the students learning through the instructional activities using metaconition strategies to enhance English reading comprehension ability was significantly higher than pretest at the .01 level. 3) The posttest metacognition of the students learning to the instructional activities using metaconition strategies to enhance English reading comprehension ability was significantly higher than pretest at the .01 level. 4) The attitude toward learning activities using metacognition strategies was at a very high level.
กำลังออนไลน์: 4
วันนี้: 557
เมื่อวานนี้: 1,300
จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,592
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033