บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนากระแต้ จำนวน 9 คน โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนวิจัยแบบ One-group pretest-posttest design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูล ได้แก่ The sign test และ t-test Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา มีเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purposes of this research were to study the effects of learning activities based on theory of multiple intelligences on learning achievement and attitude toward mathematics learning of Prathom Suksa 6 students and compare students’ learning achievement after learning through mathematics by activities based on theory of multiple intelligences with the criterion score set at 70 %.
The sample group consisted of 9 Prathom Suksa 6 students in the academic year of 2008 from Nakatae School under the Office of Nakhon Phanom Educational service Area 2.
The findings of the study were as follows :
The posttest average scores of mathematics learning achievement of the students learned through the learning activities based on theory of multiple intelligences were higher than those of their pretest at the .01 level of significance.
The mathematics learning achievement of the students learned through the activities based on theory of multiple intelligences could be compared with criterion score set at 70% at the .01 level of significance.
The posttest average scores of attitude toward mathematics learning of the students learned through the learning activities based on theory of multiple intelligences were higher than those of heir pretest at the .01 level of significance.
กำลังออนไลน์: 15
วันนี้: 902
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,891
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033