บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีสตอรี่ไลน์ หน่วยชีวิตกับเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีสตอรี่ไลน์ หน่วยชีวิตกับเศรษฐกิจพอเพียง 3) เปรียบเทียบความตระหนักในความพอเพียงของนักเรียนก่อนและหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีสตอรี่ไลน์ หน่วยชีวิตกับเศรษฐกิจพอเพียง 4) ศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีสตอรี่ไลน์ หน่วยชีวิตกับเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนโพนงามโคกวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง แบบแผนการวิจัยใช้แบบ One Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีสตอรี่ไลน์ หน่วยชีวิตกับเศรษฐกิจพอเพียง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. นักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนการสอนโดยวิธีสตอรี่ไลน์ หน่วยชีวิตกับเศรษฐกิจพอเพียง มีความตระหนักในความพอเพียงสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีสตอรี่ไลน์ หน่วยชีวิตกับเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก
Abstract
The purposes of this research were ; 1) to develop the instructional activities based on Storyline method in the unit on “Lives and Sufficiency Economy” for Prathom Suksa 5; 2) to compare the learning achievement of the students learned through the instructional activities; 3) to compare the sufficiency economy awareness of the students learned through the instructional activities and 4) to study the attitude towards instructional activities.
The subjects were 37 Prathom Suksa 5 students of Phonngamkhok Wittayakhan school in the first semester of 2008 academic year under the office of Sakon Nakon Educational Service Area 1, selected by purposive sampling. The design of research was One Group pretest-posttest. The statistics used were percentage, mean,standard deviation and t- test dependent.
The results of this research were as follows:
1. The posttest average scores of learning achievement of the students learning through the instructional activities were higher than the pretest average scores at the .01 level of significance.
2. The posttest average scores of sufficiency economy awareness of the students learning through the instructional activities were higher than the pretest average scores at the .01 level of significance.
3. The average scores of attitude towards instructional activities were at high level.
กำลังออนไลน์: 17
วันนี้: 890
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,879
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033