บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนการสอน เรื่องรูปลักษณ์คำไทยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอน ระหว่างก่อนและหลังเรียนและ 3) ศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วย ชุดการเรียนการสอน
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ได้แก่ ชุดการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดเจตคติต่อการเรียนการสอน การดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบ One Group Pretest-Posttest Design และทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการเรียนการสอน เรื่องรูปลักษณ์คำไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 80.53/80.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยชุดการเรียนการสอน เรื่องรูปลักษณ์คำไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องรูปลักษณ์คำไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยชุดการเรียนการสอน เรื่องรูปลักษณ์คำไทย มีเจตคติต่อชุดการเรียนการสอนอยู่ในระดับสูง
Abstract
The purposes of this research were to 1) develop the instructional package on characteristics of Thai words according to the efficiency of 80/80 criteria, 2) compare the learning achievement of students between before and after learning through the developed instructional package and 3) study the students’ attitude towards the instructional package.
The sample group of this study was 30 Mathayom suksa 3 students at Thatmarai Wittaya School in the second semester of 2008 academic year. The sample group obtained through the purposive selection and the instruments used were an instructional package, an achievement test and an attitude measurement. The research methodology was one Group Pretest-Posttest design. The statistics used for data analysis were mean, percentage, standare deviation and t-test (Dependent Samples).
The findings were as the followings.
1. The efficiency of the developed instructional package for Mathayom suksa 3 was at 80.53/80.44 which was higher than the assigned 80/80 criteria.
2. The posttest average score of learning achievement of the students learning through the developed instructional package was higher than the pretest average score at .05 level of significance.
3. The students’ attitude towards the developed instructional package was at the high level.
กำลังออนไลน์: 13
วันนี้: 899
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,888
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033