บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์โดยสอดแทรกกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง แรงและความดัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านดอนแดง อำเภอท่าอุเทน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2
กลุ่มทดลองเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านดอนแดง อำเภอท่าอุเทน ปีการศึกษา 2551 จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้สอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์โดยสอดแทรกกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ การดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบ One-Group Pretest Design โดยการทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนวิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระกัน (t-test ชนิด Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้สอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยสอดแทรกกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ 81.93/79.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์โดยสอดแทรกกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เฉลี่ยร้อยละ 82.86 ของคะแนนเต็มซึ่งอยู่ในระดับสูงมาก
4. นักเรียนมีความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เฉลี่ยร้อยละ 81.83 ของคะแนนเต็ม ซึ่งอยู่ในระดับสูงมาก
Abstract
The purpose of this study was to investigate the effect of implementing scientific learning-teaching project which was infused with the creative problem solving process for Prathom Suksa 5 Students of Ban Dondang School, Tha Uthen District, Nakorn Phanom Education Service Area 2. The project was entitled “Force and Pressure” of Science Learning Substance.
The subjects were 21 students who were studing at Prathom Suksa 5 of Ban Dondang School, Tha Uthen District in 2008 academic year. They were purposively selected. The instruments used in the study consisted of lesson plans designed by using scientific learning–teaching project which was infused with the creative problem solving process, learning achievement test, questionnaire used to measure the students’ capacity for conducting scientific project. One Group Pretest-Posttest Design was employed. The data was analyzed by using percentage, mean, standard deviation and t-test (Dependent Samples).
The study revealed the following results:
1. The efficiency of the implementing scientific learning-teaching project Infusedwith the creative problem solving process was 81.93/79.05 which was higher than the set criteria of 70/70.
2. The students learning achievement gained after studying through the scientific learning-teaching project Infused with the creative problem solving process was staticallyhigher than that of before at .01 level of significance.
3. On the average, the students could solve their problem creatively at 82.86 percent, which was at very high level.
4. On the average, the students could conduct their scientific Project at 81.83 percent, which was at very high level.
กำลังออนไลน์: 29
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,133
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,122
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033