...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2552
หน้า: 35-43
ประเภท: บทความวิจัย
View: 693
Download: 230
Download PDF
การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง โมล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1
Action Research for Developing Chemistry Achievement on “Mole” for Matthayom Suksa 5 of Students Renunakhonwittayanukul School under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1
ผู้แต่ง
แมนชัย สมนึก, สำราญ กำจัดภัย
Author
Manchai Somnuek, Sumran Gumjudpai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง โมล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบบันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบสัมภาษณ์นักเรียน 4) แบบบันทึกอนุทินของนักเรียน และ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง โมล การวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งมีขั้นตอนในการปฏิบัติการอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสังเกตการณ์ และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาและสาเหตุปัญหาที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง โมล ต่ำ แล้วดำเนินการตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการจำนวน 2 วงรอบ คือ วงรอบที่ 1 พัฒนาการเรียนรู้ และวงรอบที่ 2 มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แล้วนำข้อมูลสะท้อนที่ได้จากการปฏิบัติในแต่ละวงรอบมาวิเคราะห์และปรับแผนปฏิบัติการในวงรอบต่อไป

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง โมล ต่ำ พบว่า มีสาเหตุมาจาก 3 แหล่ง คือ ครูผู้สอน มีวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ไม่หลากหลาย ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดแก้ปัญหา และไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างจริงจัง นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนที่ไม่ช่วยเหลือกันและกันไม่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง ขาดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน และมีทักษะการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ต่ำ และจากแหล่งอื่นๆ เช่น สภาพเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว

2. แนวทางในการแก้ไขปัญหา คือ การจัดการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผลที่หลากหลาย ส่งเสริมกระบวนการกลุ่ม ให้นักเรียนได้คิดได้แก้ปัญหาร่วมกัน ได้ช่วยเหลือกันและกัน ได้แก่ การจัดการเรียนเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการกลุ่มแบบเพื่อนช่วยเพื่อน กระบวนการแก้ปัญหากระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับเทคนิคการเสริมแรง และการสอนซ่อมเสริม

3. ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง โมล ของนักเรียนแยกเป็นรายบุคคล พบว่า มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 41 คน จากนักเรียนทั้งหมดจำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 95.35 ของนักเรียนทั้งหมด และเมื่อพิจารณาจากภาพรวมทั้งชั้น พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 30.91 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 77.27 แสดงว่า ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง โมล สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
 

Abstract

The purpose of this study was to develop chemistry achievement on “Mole” for Matthayom Suksa 5 students by using action research. The target group consisted of 43 Matthayom Suksa 5 students studying at Renunakhonwittayanukul School in the fist semester of 2008 academic year. The research instruments were 1) lesson plans, 2) teacher’s comment forms, 3) students’ interview form, 4) students’ learning forms, and 5) a chemistry’s achievement test on “Mole”. This action research study was composed of 4 spirals: planning, action, observation and reflection. In the first spiral, the researcher had analyzed the states and problems which caused the students to have low learning achievement on “Mole” in chemistry. Then, the two stages of the action research process were carried out-the first stage was aimed to develop the students’ learning and the second stage was aimed to accomplish their learning achievement. Then all data of gained from each stage was reflected and analyzed so that any modification could be adopted for constructing the plans and actions used in the next spirals. 

The results of this study revealed the follows:

1. The states and problems which caused low learning achievement in chemistry on “Mole” were: 1) the teacher’s non-diverse teaching methodologies making the students unable to develop their thinking and problem-solving processes, these methodologies did not seriously centralize on the learners; 2) students’ learning behaviors of not helping each other, irresponsibility, lacking knowledge acquisition, and low mathematics calculating skill, and 3) others e.g. the states of families’ economic and social statuses. 

2. Guideline for solving these problems include learning management which contained different kinds of learning activities, teaching aids, and evaluations that could help enhance group process while stimulating the students to solve their problemstogether or help each other; and learning process which focused on group processof friends, problem solving process, knowledge acquisition process plus reinforcementtechnique and remedial teaching technique.  

3. When measuring each student’s development of chemistry learning achievement on “Mole” it was found that 41 from 43 students which was equivalent to 95.35 percent of the students had passed the set criteria of 70 percent. As a whole when measuring all students’ development of chemistry learning achievement on “Mole” it was found that the students made the average score of 30.91 from the full score of 40. This equaled 77.27 percent meaning that the students had higher achievement than the established criteria (70 percent).
 


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 3

วันนี้: 144

เมื่อวานนี้: 735

จำนวนครั้งการเข้าชม: 792,906

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033