บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ตามเกณฑ์ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่านผู้หญิงจันทิมาพึ่งบารมี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่านผู้หญิงจันทิมาพึ่งบารมี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 ที่เรียนวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว และแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว จำนวน 8 แผน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purposes of this research were to compare students’ learning achievement scores, Scientific process skills between the pre-learning and post-learning through Inquiry Method and to investigate the students’ post-learning achievement scores on the set criterion of 70 percent.
The subjects were 40 students studying science on the unit of “Solution” in the first semester of academic year 2008 at Tanphuying Chantima Puengbarami School under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 1. The instruments used in this study were : 1) The instruments for data collecting comprised a learning achievement test on the unit of “Solution” and a scientific process skill test. 2) The instrument for experiment consisted of 8 lesson plans on the unit of “Solution” The data were analyzed by SPSS program and the statistics used to analyze data were mean, standard deviation and t-test.
The results revealed that :
1. The average score of students’ post-learning achievement was higher than the pre-learning at the .01 level of significance.
2. The students’ scientific process skills after learning through Inquiry Method were higher than pre-learning at the .01 level of significance.
3. The students’ post-learning achievement scores after learning through Inquiry Method reached the set criterion of 70 percent at the .01 level of significance.
กำลังออนไลน์: 23
วันนี้: 1,086
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,075
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033