บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ และเปรียบเทียบความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยชุดกิจกรรมฝึกทำโครงงานวิทยาศาสตร์กับที่เรียนโดยครูเป็นผู้สอนโครงงานวิทยาศาสตร์
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 40 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านพังโคน (จำปาสามัคคีวิทยา) สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ได้แก่ ชุดฝึกกิจกรรมทำโครงงานวิทยาศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของเฉลี่ยโดยใช้ t-test ชนิด Independent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรมฝึกทำโครงงานวิทยาศาสตร์ มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยครูเป็นผู้สอนโครงงานวิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. นักเรียนที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรมฝึกทำโครงงานวิทยาศาสตร์ มีความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยครูเป็นผู้สอนโครงงานวิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The objectives of this research are; to compare the ability of science problems solving of the students who studied science project. To compare the ability of makingproject of the student who studied science project. To find the archievement of sciencesubject both before and after for the students in pratom 6 by learning with packagetraining science project and learning with normal instruction.
The samples in this research are 40 students in pratom 6 for 1st semester of 2008 in Banpangkon (Champa Samakkee Wittaya) under the office of sakon nakhon Educationalservice Area 2 by purposive sampling. The instruments are package training for scienceproject lesson plan problems solving method measurement for science and the abilityof making science project Assessment.
The statistic to analyze the data are Percentage, Arithmetic Mean (), Standard Deviation (S.D.) and t-test Independent Samples.
1. The result of this research found that the students who learned by using package training have more ability to solve the science problem than the students who learned with the teacher at significant 0.01.
2. The students who learned by using package training have more ability to make project than the students who learned with the teacher at significant 0.01.
กำลังออนไลน์: 20
วันนี้: 1,110
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,099
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033