...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2552
หน้า: 1-10
ประเภท: บทความวิจัย
View: 232
Download: 216
Download PDF
การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
A Development of the Learning Package for Enhancing Problem Solving Ability for Prathom Suksa 6 Students
ผู้แต่ง
วิวัฒน์ ไขไพวัน, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, สำราญ กำจัดภัย
Author
Wiwat Khaiphaiwan, Bhumphong Jomhongbhibhat, Sumran Gumjudpai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 3) เพื่อตรวจสอบประสิทธิผลของชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ตามเกณฑ์ดัชนีประสิทธิผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านง่อนหนองพะเนาว์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ประสิทธิภาพของนวัตกรรม E1/E2 ดัชนีประสิทธิผลของนวัตกรรม (EI) และสถิติ t-test ชนิด Dependent Samples

ผลการวิจัย พบว่า

1. ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา มีองค์ประกอบของชุดกิจกรรมย่อย 7 ชุด คือ ชุดที่ 1 ตระหนักรู้ปัญหา ชุดที่ 2 ค้นหาสาเหตุของปัญหา ชุดที่ 3 กำหนดปัญหา ชุดที่ 4 หาแนวทางแก้ปัญหา ชุดที่ 5 เลือกวิธีแก้ปัญหา ชุดที่ 6 ดำเนินการแก้ปัญหา และชุดที่ 7 สรุปขั้นตอนการแก้ปัญหาทั้ง 6 ชุด มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75

2. ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าดัชนีประสิทธิผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 

3. หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาที่พัฒนาขึ้น นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา อยู่ในระดับมาก 
 

Abstract

The purposes of this research were : 1) to develope the learning package for enhancing problem solving ability for students in prathom suksa 6 2) to check efficiency of the Learning Package enhancing problem solving ability to the required criteria of 75/75, 3) to check effectieness of the learning package on enhancing problem solving ability to the effectieness index which was not less than 50%, 4) to compare the problem solving  ability of the students learning through problem-based learning with the Learning Package for enhancing problem solving ability and, 5) to investigate the satisfaction of learning the learning package for enhancing problem solving ability.  

The sample used in this study consisted of 32 Prathom suksa 6 students attending Ban Ngong Nhong Pa Noa school under the office of Sakon nakhon Educational Service in the second semester of the academic year 2008, obtained through the purposive sampling technigue. The instruments used in this study were : 1) the Learning Package for enhancing problem solving ability, 2) a test of the Learning Package for enhancing problem solving ability and 3) scale on satisfaction with the Learning Package for enhancing problem solving ability. The data were analyzed  by  mean, standard deviation, percentage, efficiency of Learning Package (E1/E2), effectieness index of the learning package (EI) and t-test (Dependent sample).

The results of the study were as follows :

1. The Learning Package for enhancing problem solving ability consisted of 7small Activities : 1. Sensing Problem, 2. Data Finding, 3. Problem Finding, 4. Idea Finding, 5. Solution Finding, 6. Acceptance Finding, 7. Summarizing six ways of problem solving efficiency which was higher than required efficiency of 75/75.

2. Learning package for enhancing problem solving ability development have required efficiency was effectieness index to more than 50%.   

3. The post-test learning achievement of the students learning with Learning Package for enhancing problem solving ability was higher than the pretest at the .01 level of significance.

4. Students were satisfacted with this learning package at the high level.
 


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 22

วันนี้: 1,092

เมื่อวานนี้: 873

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,081

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033