...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2553
หน้า: 71-77
ประเภท: บทความวิจัย
View: 194
Download: 218
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ช่างเชื่อมตามแนวคิดเมตาคอกนิชัน ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นกลาง วิทยาลัยไชยสมบัติเทคโนโลยี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Development of Welding Mathematics Instructional Activities Using Metacognition for Certificate in Vocational Education Level of Xaysombath Technology College, Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic
ผู้แต่ง
สีสะหวาด ไชยสมบัติ, ประยูร บุญใช้, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์
Author
Natrada Saenwisade, Prayoon Boonchai, Bhumbhong Jomhongbhitbhat

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ช่างเชื่อมตามแนวคิดเมตาคอกนิชัน 2) ศึกษาผลของการสอนคณิตศาสตร์ช่างเชื่อมโดยการสอนตามแนวคิดเมตาคอกนิชันในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านเมตาคอกนิชัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิชาชีพชั้นกลางสาขาช่างเทคนิคงานโลหะปีที่ 1 วิทยาลัยไชยสมบัติเทคโนโลยี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 11 คน โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เมตาคอกนิชัน 2) แบบวัดเมตาคอกนิชัน แบบลิเคิร์ท และแบบเลือกตอบ และ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ช่างเชื่อม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และในการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูล โดยใช้ The sign test

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลของการสอนคณิตศาสตร์ช่างเชื่อมตามแนวคิดเมตาคอกนิชัน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ช่างเชื่อมของนักศึกษาวิชาชีพชั้นกลางวิทยาลัยไชยสมบัติเทคโนโลยี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. นักศึกษาได้รับการสอนคณิตศาสตร์ช่างเชื่อมตามแนวคิดเมคอกนิชันมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เชื่อมหลังเรียนเท่ากับร้อยละ 70.54 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (ร้อยละ 70 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับผลการเรียนดีพอใช้)

3. ผลของการสอนคณิตศาสตร์ช่างเชื่อมตามแนวคิดเมตาคอกนิชัน ทำให้เมตาคอกนิชันของนักศึกษาวิชาชีพชั้นกลางวิทยาลัยไชยสมบัติเทคโนโลยี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
 

Abstract

The purposes of this study were to 1) develop the welding mathematics study activities by using metacognition, 2) investigate the effects of welding mathematics instruction using metacognition in learning achievement and metacognition ability.  The samples of this study consisted of 11 first-year vocational certificate students in the second semester of the academic year 2009 at Xaysombath Technology College, Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic. Duration of the experiment was 5 weeks long. The instruments used in this study consisted of  the learning plan based on metacognition, the Likert-scale metacognition, multiple-choice Metacognitive test and the welding mathematics achievement test. The collected data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and the sign test.

The results of the research were as follows:

1. The effect of welding mathematics instruction by using metacognition obtaining achievement in welding mathematics of the students after learning through the model was higher than that of before learning at the .05 level of significance.

2. The learning achievement on welding mathematics of after using metacognition model could be compared with the criterion score set at 70%.

3. The effect of welding mathematics instruction by using metacognition obtaining metacognitive achievement after learning through the model was higher than that of before learning at the .05 level of significance.
 


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 16

วันนี้: 616

เมื่อวานนี้: 1,300

จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,651

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033