...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2553
หน้า: 55-60
ประเภท: บทความวิจัย
View: 249
Download: 104
Download PDF
ผลการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวคาร์ล ออร์ฟ ที่มีต่อ ความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย
Effect of Experiencing Carl Orff’s Musical Activities on Creativity and Self–confidence in Preschool Children
ผู้แต่ง
วิลาวัลย์ พ่ออามาตย์, ประยูร บุญใช้, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์
Author
Wilawan Poramart, Prayoon Boonchai, Bhumbhong Jomhongbhitbhat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวคาร์ล ออร์ฟ ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนวัดพระธาตุพนม “พนมวิทยาคาร” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 จำนวนนักเรียน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ 2) แบบสังเกตและบันทึกพฤติกรรมด้านความคิดสร้างสรรค์ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเอง 4) แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวคาร์ล ออร์ฟ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่า t–test แบบ Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวคาร์ล ออร์ฟ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวคาร์ล ออร์ฟ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
 

Abstract

The purpose of this research was to investigate effects of experiencing Carl Orff’s musical activities on creativity and self–confidence in preschool children. Purposively selected, the subjects were 20 kindergarteners studying in classroom  2/3 in 2007 academic year at Wat Phra That Phanom School, “Phanom Witthayakarn” under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1. The instruments used were comprised of 1) creativity test, 2) observation form plus an observation form used for recording the children’s creativity, 3) observation form for recording  the children’s self–confidence, 4) experience plans based on Carl Orff’ s musical  activities. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, and t–test (Dependent Samples).

The study revealed the following results :

1. The preschool children’ s who underwent the experience plans based on Carl Orff’s musical activities had statistically gained higher creativity than that of before the experiment at .01 level of significance.

2. The preschool children’s who underwent the experience plans based on Carl Orff’s musical activities had statistically gained higher self–confidence than that of before the experiment at .01 level of significance.
 


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 279

เมื่อวานนี้: 522

จำนวนครั้งการเข้าชม: 797,427

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033