...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2553
หน้า: 21-27
ประเภท: บทความวิจัย
View: 158
Download: 94
Download PDF
ผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เจตคติต่อการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
The Effects of Instructional Model Based on Faith and Resonant Thinking – Yonisomansikan, upon Analytical Thinking Ability, Learning Attitude, and Learning Achievement in Buddhism Substance of Prathom Suksa 6 Students
ผู้แต่ง
นวลน้อย แสนกล้า, มารศรี กลางประพันธ์
Author
Nuannoi Sankla, Marasri Klangprapan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการใช้รูปแบบการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลนครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 จำนวน 41 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบวัดเจตคติต่อการเรียนสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบแบบที่ไม่เป็นอิสระแก่กัน (Dependent Samples t–test)

ผลการวิจัย พบว่า

1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ มีเจตคติต่อการเรียนสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were : 1) to compare the student’ analytical thinking abilities before and after they had learnt through the instructional model based on faith building and resonant thinking–Yonisomansikan ; 2) to compare the student’s attitude towards Buddhism Learning Substance before and after they had learnt through the instructional model based on faith building and resonant thinking–Yonisomansikan ; 3) to compare the student’s learning achievements before and after they had learnt through the Instructional model based on  faith building and resonant thinking and Yonisomansikan. Purposively selected, the subjects were 41 students who were studying in classroom 6/5 in the second semester of the 2008 academic year at Anuban Nakhon Phanom School under the Office of Nakhon Phanom educational Service Area 1. The instruments used in this study consisted of an analytical thinking test, the questionnaire to measure the students’ attitude towards the Buddhism learning substance, and an achievement test. One Group Pretest-Posttest Design was adopted for this research. The statistic used to analyze the data was t-test (Dependent Samples).

The  results of this  study  were  as the follows:

1. After they had learnt through the instructional model based on faith building and resonant thinking-Yonisomansikan, Prathom Suksa 6 students had statistically developed higher analytical thinking than that of before at .01 level of significance.

2. After they had learnt through the instructional model based on faith building and resonant thinking-Yonisomansikan, Prathom Suksa 6 students had statistically developed higher attitude towards Buddhism learning substance than that of before at .01 level of significance.

3. After they had learnt through the instructional model based on faith building and resonant thinking-Yonisomansikan, Prathom Suksa 6 students had statistically possessed higher learning achievement than that of before at .01 level of significance.
 


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 4

วันนี้: 265

เมื่อวานนี้: 522

จำนวนครั้งการเข้าชม: 797,413

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033