...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2553
หน้า: 91-97
ประเภท: บทความวิจัย
View: 201
Download: 216
Download PDF
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Development of a Computer–Assisted Instruction on the Religion Morals and Ethics for Prathom Suksa 5
ผู้แต่ง
อาทิติยา วงศ์อาษา, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, ธีระศักดิ์ ละม่อม
Author
Atitiya Wong-asa, Bhumbhong Jombongbhibhat, Thirasak Lamom

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองแคนสหราษฎร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และร้อยละ (Percentage) วิเคราะห์หาค่าผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน และความคงทนในการเรียนรู้ โดยใช้ t-test ชนิด Dependent Samples

ผลการศึกษาพบว่า

1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 86.17/84.07  ตามสมมุติฐานการศึกษาที่กำหนดไว้

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนไม่มีความคงทนในการเรียนรู้หลังจากเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป 2 สัปดาห์ คะแนนองค์ความรู้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยรวมมีอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this study were : 1) to develop the Computer-Assisted Instruction on the Religion Morals and Ethics for Prathom Suksa 5 on the standard efficiency of 80/80, 2) to compare the learning achievement before and after learning by Computer-Assisted Instruction, and 3) to investigate the retention of students, and 4) to explore the studied satisfaction toward the Computer-Assisted Instruction.       

The samples of this study were 30 Prathom Suksa 5 students from Nongcansaharadvittaya  School under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 2 who enrolled in the first semester of the academic year 2009.  The samples were selected by using purposive sampling technique.

The instruments of  this study were : 1) the Computer-Assisted Instruction on the Religion Morals and Ethics for Prathom Suksa 5, 2) a set of learning achievement test form, and 3) a set of questionnaires of the study the preference toward the Computer-Assisted Instruction.

To analyze the efficiency of the Computer-Assisted Instruction, the Effectiveness Index, and the studied preference, mean, standard deviation and percentage were used. To analyze the retention of students, t-test (Dependent Samples) was employed.

The findings of this study were as follows :

1. The efficiency of the Computer-Assisted Instruction on the Religion Morals and  Ethics entitled for Pratom Suksa 5 was 86.17/84.07 which indicated an acceptable level.

2. The learning achievement of the Computer-Assisted Instruction on the Religion Morals and Ethics entitled for Prathom Suksa 5 was significantly different at the .01 level.

3. There was no retention after using the Computer-Assisted Instruction for 2 weeks ;  the level of the body of knowledge was reduced at the .01 level of significance.

4. The studied preference of the Computer-Assisted Instruction on the Religion Morals  and Ethics entitled for Prathom Suksa 5 was at the highest level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 16

วันนี้: 949

เมื่อวานนี้: 873

จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,938

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033