บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น และเกม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น และเกม 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น และเกม และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ต่อการเรียน โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นและเกม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 39 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น และเกม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ชนิด Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น และเกม เรื่อง ระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.14/75.39 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้
2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียน ที่เรียนโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น และเกม สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียน โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น และเกม สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น และเกม เฉลี่ยเท่ากับ 4.24 ซึ่งอยู่ในระดับมาก
Abstract
The purposes of the study were to: 1) develop and validate the efficiency of lesson plans using inquiry cycles (5Es) and games on the topic of human and animal body systems in science Learning strand for Mathayomsuksa 2 with the required efficiency of 75/75, 2) compare critical thinking ability of Mathayomsuksa 2 students before and after using inquiry cycles (5Es) and games, 3) compare learning achievement of Mathayomsuksa 2 students before and after using inquiry cycles (5Es) and games, and 4) study students’ satisfaction toward learning through inquiry cycles (5Es) and games. The samples, obtained through cluster random sampling technique, consisted of 39 Mathayomsuksa 2 students who were studying in the second semester of the academic year 2016 at Kusumanwittayakom School under the Office of Secondary Educational Service Area 23. The instruments for the study included lesson plans, a critical thinking test, a learning achievement test, and an assessment form concerning students’ satisfaction toward the learning management using inquiry cycles (5Es) and games. The collected data were analyzed by mean, standard deviation, and dependent samples t-test.
The results were as follows:
1. The efficiency of lesson plans based on inquiry cycles (5Es) and games on the topic of human and animal body systems in scicnce strand Learning for Mathayomsuksa 2 students was 75.14/75.39, which was higher than the set criterion of 75/75.
2. The critical thinking ability of Mathayomsuksa 2 students after learning through the inquiry cycles (5Es) and games was higher than that of before at the .01 level of significance.
3. The learning achievement of Mathayomsuksa 2 students after learning through the inquiry cycles (5Es) and games was higher than that of before at the .01 level of significance.
4. The satisfaction of Mathayomsuksa 2 students toward learning management was rated at a high level with the mean score of 4.24.
คำสำคัญ
การคิดวิเคราะห์, การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น, เกมKeyword
Critical Thinking, Inquiry Cycles (5Es), Gameกำลังออนไลน์: 20
วันนี้: 887
เมื่อวานนี้: 1,300
จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,922
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033