บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กับเกณฑ์ประเมินร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ประเมินร้อยละ 70 4) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนทรายมูลหนองกุงทรายศรีพิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 29 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบ One Group Pretest–Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบ ค่าสถิติ t-test one sample และการทดสอบค่าสถิติ t–test dependent samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.62/79.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 71.03
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็น ร้อยละ 79.83
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this research were : 1) to develop mathematical learning activities based on cognitive guided instruction with cooperative learning for mathematics with the efficiency criterion of 70/70, 2) to compare mathemetical reasoning ability and the achievement of learning mathematics with the criterion of 70 percent satisfaction, and 3) to compare attitude toward mathematics between the pre–learning and the post–learning based on cognitive guided instruction with cooperative learning of Mathayom Suksa 1 students.
The sample group consisted of 29 Mathayom Suksa 1/1 students in the first semester of academic year 2009, at Saimoon Nongkung Saisripitthaya School under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 2. These students were selected by cluster random sampling. The tools used in this research consisted of 1) learning plans based on cognitive guided instruction with cooperative learning, 2) a mathematics reasoning ability test 3) a mathermatics achievement test, and 4) an attitude test toward learning for Mathayom Suksa 1 students. The One Group Pretest–Posttest Design was utilized in the study. The statistics used to analyze the data were t-test one sample and t-test dependent samples.
The results of the research were:
1. The efficiency of the mathematical learning activities based on cognitive guided instruction with cooperative learning for Mathayom Suksa 1 developed by the researcher was 83.62/79.83, which was higher than the set criterion.
2. The effects of mathematical reasoning ability of Mathayom Suksa 1 students after using learning activities based on cognitive guided instruction with cooperative learning were higher than the 70% prescribed criterion with the mean of 71.03% at the .05 level of significance.
3. The effects of mathematics achievement of Mathayom Suksa 1 students after using learning activities based on cognitive guided instruction with cooperative learning were higher than the 70% prescribed criterion with the mean of 79.83% at the .05 level of significance.
4. The mathematics learning attitude of the students after the instruction by learning activities was significantly higher than before using the activity at the .05 level of significance.
กำลังออนไลน์: 21
วันนี้: 936
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,925
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033