บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จักรวาลและอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จักรวาลและอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จักรวาลและอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จักรวาลและอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองบัวสิม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 27 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จักรวาลและอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และร้อยละ (Percentage) วิเคราะห์หาค่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการทดสอบค่าที (t–test) ชนิดไม่เป็นอิสระแก่กัน (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่า เท่ากับ 81.19/83.80 สูงกว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 0.69 แสดงว่าผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 69
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Abstract
The purposes of this study were : 1) to develop the Computer-Assisted Instruction on the Universe and Space in Science Learning for Mathayom Suksa 3 on the standard Efficiency of 80/80, 2) to identify the effectiveness index of the Computer-Assisted Instruction, 3) to compare the learning achievement on the Universe and Space in Science Learning for Mathayom Suksa 3 before and after learning by the Computer-Assisted Instruction and 4) to explore the studied satisfaction toward the Computer-Assisted Instruction.
The samples of this study were 27 Mathayom Suksa 3 students from Ban Nongbuasim School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3 who enrolled in the first semester of the academic year 2010. The samples were selected by using the Purposive Sampling Technique.
The instruments of this study included the Computer-Assisted Instruction On the Universe and Space in Science Learning for Mathayom Suksa 3, a learning achievement test, and a questionnaires of the studied satisfaction toward the Computer-Assisted Instruction.
Statistics used to analyze the efficiency of the Computer-Assisted Instruction, the Effectiveness Index, and the studied preference, mean, standard deviation and percentage. To analyze the learning achievement, t-test of dependent samples was employed.
The findings of this study were as follows:
1. The efficiency of the Computer-Assisted Instruction on the Universe and Space in Science Learning for Mathayom Suksa 3 developed by the researcher was 81.19/83.80 which was higher than the value of 80/80 stated for the hypothesis.
2. The Effectiveness Index of the Computer-Assisted Instruction on the Universe and Space in Science Learning for Mathayom Suksa 3 was 0.69 which indicated that Students have been improved mean scores than before the implementation at 69 %.
3. Student learning achievement after the Computer-Assisted Instruction was implemented significantly higher than that before the implementation at the .01 level.
4. The studied satification of the students toward the Computer-Assisted Instruction on the Universe and Space in Science Learning for Mathayom Suksa 3 at the high level.
กำลังออนไลน์: 22
วันนี้: 1,100
เมื่อวานนี้: 1,202
จำนวนครั้งการเข้าชม: 973,337
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033