บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความหมายของของวิจัย เพื่อ 1) พัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดศรีสงครามบ้านฉัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดศรีสงครามบ้านฉัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3) ศึกษาเจตคติของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดศรีสงครามบ้านฉัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านดงขวาง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดศรีสงครามบ้านฉัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 เรื่อง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 30 ข้อ 3) แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดศรีสงครามบ้านฉัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดศรีสงครามบ้านฉัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 81.94/83.70 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดศรีสงครามบ้านฉัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. เจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดศรีสงครามบ้านฉัน อยู่ในระดับมาก
Abstract
The purposes of this research were to: 1) develop supplementary books entitled “Srisongkram Banchan” of Social Studies, Religion and Culture Learning Substance Group for Prathom Suksa 5 to meet the standard efficiency of 80/80, 2) compare students’ learning achievement before and after the intervention, and 3) explore the students’ attitudes towards learning through the developed supplementary books.
The samples, obtained through purposive sampling techniques, consisted of 9 Prathom Suksa 5 students who enrolled in the second semester of academic year 2010 at Ban Dong Khuang School.
The research instruments were 1) supplementary books entitled “Srisongkram Banchan”, 2) 30 items of a multiple choice achievement test, and 3) an attitude questionnaire towards learning through the developed supplementary books. The statistical analyses used in this study were mean, percentage, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).
The findings of the research were:
1. The efficiency of the developed supplementary books entitled “Srisongkram Banchan” of Social Studies, Religion and Culture Learning Substance Group for Prathom Suksa 5 was 81.94/83.70, which was higher than the set criterion of 80/80.
2. After the intervention, the students’ learning achievement scores were significantly different at the .01 level.
3. The students’ attitudes learning through the developed supplementary books were at a high level.
กำลังออนไลน์: 41
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,291
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,279
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033