บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ คือ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง การทอผ้าลายมุก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาตงสหราษฎร์อุทิศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอน ตามหลักสูตรสถานศึกษาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง การทอผ้าลายมุก ก่อนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง การทอผ้าลายมุก และ 4) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง การทอผ้าลายมุก
การวิจัยครั้งนี้มีการดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 3) การนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ และ 4) การประเมินผลการทดลองใช้หลักสูตร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาตงสหราษฎร์อุทิศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 27 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t–test แบบ Dependent Samples)
ผลของการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.86/87.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ตามที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาคความรู้ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ทักษะการปฏิบัติของนักเรียน ที่ได้รับการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง การทอผ้าลายมุก มีค่าเท่ากับร้อยละ 89.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม
4. เจตคติของนักเรียนหลังได้เรียนรู้หลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง การทอผ้าลายมุก อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this research were : 1) to develop a school curriculum on Lai–Muk Cotton Weaving for Mathayom Suksa 2 students in Bannatongsaharajutd school under the office of Sakon Nakhon Educational Service Area l on the 80/80 standard criterion, 2) to study the students’ learning achievement scores before and after learning through the developed school curriculum 3) to investigate the practical skills of students who studied in this curriculum on Lai–Muk Cotton Weaving and 4) to compare the attitudes of students who studied the developed school curriculum on Lai–Muk Cotton Weaving.
The research procedure comprised 4 steps : 1) collecting and analyzing the fundamental data, 2) developing the school curriculum, 3) implementing the school curriculum, and 4) evaluating the implementation of the school curriculum. The subject was 27 students enrolling in the first semester of academic year 2010 at Mathayom Suksa 2 of Bannatongsaharajutid School. The statistics used were percentage, mean, standard deviation and t–test (Dependent Samples).
The results of this research were as follows:
1. The efficiency of developed curriculum was 82.86/87.22 which was higher than the basis criterion of 80/80.
2. The posttest average scores of learning through the developed curriculum war higher than those of their pre–test at the .01 level of significance.
3. The students had developed their practical skills of 89.78 percent which was higher than the set criteria of 60 percent.
4. The average score of the attitude of the students learning through the developed curriculum was at the highest level.
กำลังออนไลน์: 49
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,302
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,290
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033