...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2555
หน้า: 183-194
ประเภท: บทความวิจัย
View: 161
Download: 217
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง อาหารพื้นเมืองจังหวัดสกลนคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สกลนคร สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
Development of the Institutional Curriculum of Sakon Nakhon’s Local Food for Mathayom Suksa 5 in Sakon Nakhon Welfare School under the Bureau of Special Education Administration
ผู้แต่ง
สวลี จุลศิริ, วัฒนา สุวรรณไตรย์
Author
Savalee Junsiri, Watana Suwannatrai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง อาหารพื้นเมืองจังหวัดสกลนคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สกลนคร สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง อาหารพื้นเมืองจังหวัดสกลนคร ที่พัฒนาขึ้นโดยศึกษาด้านต่างๆ ดังนี้ 2.1) ประสิทธิภาพของหลักสูตรสถานศึกษา ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 2.3) เปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติงานอาหารพื้นเมืองจังหวัดสกลนครของนักเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 70 2.4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการทดลองเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สกลนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า การทดสอบค่า t-test

การพัฒนาหลักสูตรดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาและสำรวจข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนาหลักสูตร 3) ทดลองใช้หลักสูตร และ 4) ประเมินและปรับปรุงหลักสูตร

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  

1. หลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง อาหารพื้นเมืองจังหวัดสกลนคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีลักษณะเป็นหลักสูตรแบบบูรณาการ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

1.1 หลักสูตร มีองค์ประกอบ 14 องค์ประกอบ คือ 1) ความนำ 2) วิสัยทัศน์ 3) ภารกิจ 4) คุณภาพผู้เรียน 5) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 6) ผังมโนทัศน์ 7) ขอบข่ายสาระ 8) ผลการเรียนรู้ 9) โครงสร้างหลักสูตร 10) คำอธิบายรายวิชา 11) หน่วยการเรียนรู้ 12) แนวทางการจัดการเรียนการสอน 13) การวัดและประเมินผล และ 14) สื่อ/อุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้

1.2 เอกสารประกอบหลักสูตร ประกอบด้วย คู่มือการใช้หลักสูตรสถานศึกษาและแผนการจัดการเรียนรู้ หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง อาหารพื้นเมืองจังหวัดสกลนคร ที่พัฒนาขึ้น พบว่า

2.1 หลักสูตรมีประสิทธิภาพ 88.62/86.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80

2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนตามหลักสูตรสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.3 ทักษะการปฏิบัติงานอาหารของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 90.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70

2.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตร มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.78 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop the Institutional Curriculum of Sakon Nakhon’s Local Food for Mathayom Suksa 5 in Sakon Nakhon Welfare School under the Bureau of Special Education Administration, 2) to study the effects of implementing the developed institutional curriculum in the following features: 2.1) the efficiency of the institutional curriculum based on the set criteria of 80/80, 2.2) the students’ achievements gained before and after they had learnt through the institutional curriculum, 2.3) the students’ working skills in Sakon Nakhon’s Local food based on the set criteria of 70 percent, 2.4) the students’ satisfaction of  learning through the developed institutional curriculum  

The process of developing the curriculum was composed of 4 stages 1) investigating and exploring basic information, 2) developing the curriculum, 3) trying out the curriculum and 4) evaluating and improving the curriculum. Purposively selected, the subjects were 30 Mathayom Suksa 5 students who enrolled in the second semester of 2011 academic year at Sakon Nakhon Welfare School.

The study revealed the following results:

1. The Institutional curriculum of Sakon Nakhon’s Local Food for Mathayom Suksa 5 consisted of two important components i.e. the curriculum and the accompanied documents.

1.1 The curriculum included 14 sections. The were 1) introduction, 2) vision, 3) mission, 4) student’s qualities, 5) desired traits, 6) graphic organizers, 7) scope of the contents, 8) learning outcomes, 9) structure of the curriculum, 10) course description, 11) learning unit, 12) guidelines for teaching/learning management, 13) learning evaluation and assessment, and 14) teaching media/tools and learning resources.

1.2 The accompanied documents were composed of teacher’s manual and learning plans. It was found that the developed curriculum was appropriate at the highest level.

2. After the tryout of the institutional curriculum, the results showed that the developed curriculum contained these features:

2.1 The institutional curriculum had its efficiency of 88.62/86.50 which was higher than the set criteria of 80/80.

2.2 The students’ achievement gained after learning through the institutional curriculum was higher than that gained before learning at .01 level of significance.

2.3 On the average, the students’ working skills in Sakon Nakhon’s Local Food was 90.43 which was higher than the set criteria of 70 percent.

2.4 The students’ satisfaction of the institutional curriculum of Sakon Nakhon’s Local Food was at the highest level which was equal 4.78.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 43

วันนี้: 878

เมื่อวานนี้: 1,202

จำนวนครั้งการเข้าชม: 973,115

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033