...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2555
หน้า: 157-164
ประเภท: บทความวิจัย
View: 178
Download: 84
Download PDF
การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ระหว่างปี พ.ศ. 2546–2554
A Synthesis of Theses in The Master of Education Program in Curriculum and Instruction, Sakon Nakhon Rajabhat University during 2003-2011
ผู้แต่ง
สุผกา บุญกอ, สำราญ กำจัดภัย, ประยูร บุญใช้
Author
Suphaka Bunkor, Sumran Gumjudpai, Prayoon Boonchai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ระหว่างปีพุทธศักราช พ.ศ. 2546–2554 โดยประเด็นที่มุ่งศึกษา ได้แก่ (1) ลักษณะทั่วไปของวิทยานิพนธ์ เช่น ปีที่พิมพ์และเผยแพร่ กลุ่มของงานวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย และอื่นๆ (2) ข้อสรุปผลการวิจัยแยกตามกลุ่มงานวิจัย 3 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการพัฒนาวิทยวิธีทางการสอน ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน แบบแผนของการวิจัยเป็นแบบการสังเคราะห์เชิงคุณลักษณะ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ประชากร คือ วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ระหว่างปีพุทธศักราช 2546–2554 จำนวน 215 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกผลการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ และการบรรยายสรุป

ผลการสังเคราะห์งานวิจัย สรุปได้ว่า

1. จำนวนวิทยานิพนธ์ทั้งหมด 215 เล่ม ส่วนใหญ่มีลักษณะดังนี้ ปีที่พิมพ์และเผยแพร่ปีพุทธศักราช 2553 เป็นกลุ่มของงานวิจัยด้านการพัฒนาวิทยวิธีทางการสอน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยเชิงทดลอง ตั้งความมุ่งหมายเพื่อพัฒนา เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ ตั้งสมมติฐานงานวิจัยทางสถิติแบบมีทิศทาง มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ไม่ระบุวิธีกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรต้นมีหนึ่งตัว ตัวแปรตามมีสองตัว แบบแผนการทดลองใช้แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีสามประเภท มีการสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตัวเอง มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยใช้การตรวจสอบคุณภาพสี่วิธี มีระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง 11-20 ชั่วโมง สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติอ้างอิงที่ใช้ คือ การทดสอบ t-test แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples) ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง และผลของการทดสอบสมมติฐานมีความสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

2. วิทยานิพนธ์จำแนกตามกลุ่มเนื้อหาของงานวิจัยได้ข้อสรุปว่า

2.1 ด้านการพัฒนาหลักสูตร วิทยานิพนธ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการแบบคู่ขนาน และการพัฒนาหลักสูตรอบรม พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้ มีประสิทธิภาพถึงเกณฑ์ที่กำหนด นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และวิทยานิพนธ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษายังคงมีปัญหาอยู่ในระดับมาก ส่วนแนวทางการพัฒนาทำได้โดยเตรียมความพร้อมด้านสถานศึกษา ด้านการสร้างหลักสูตร ด้านการใช้หลักสูตร ด้านการประเมินหลักสูตร และด้านการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร

2.2 ด้านการพัฒนาวิทยวิธีทางการสอน วิทยานิพนธ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดในการเรียนการสอน รูปแบบการสอน วิธีสอนและเทคนิคการสอน พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และวิทยานิพนธ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอน พบว่า ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นิสัยรักการอ่าน คุณธรรมจริยธรรม และปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออก ได้รับการแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น 

2.3 ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน วิทยานิพนธ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างเดียว สื่อการเรียนการสอนร่วมกับแนวคิดในการเรียนการสอน รูปแบบการสอน วิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ พบว่า สื่อการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพถึงเกณฑ์ที่กำหนดทั้งหมด และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างเดียว สื่อการเรียนการสอนร่วมกับแนวคิดในการเรียนการสอน รูปแบบการสอน  วิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

Abstract

The purpose of this research was to synthesize the graduate theses in the Master Program in Curriculum and Instruction, Sakon Nakhon Rajabhat University during 2003–2011. The main points were the general characteristics and the findings of educational researches according to the development of curriculum, instructional methods and instruments. The research design was qualitative synthesis used content analysis. The samples were 215 graduate theses in the Master Program in Curriculum and Instruction, Sakon Nakhon Rajabhat University during 2003–2011. The instrument used in this research was the synthesis documentation. Percentages and the descriptive summary were used in data analysis.

The synthesized results were the followings:

1. In 2010, a large number of theses pertaining to the development of instructional methods appeared. The research design was experimental research aimed to develop, study and compare the instructional methods. The researches used directional hypothesis with one group of sample. The samples were students selected by purposive sampling. The researches did not specify method to limit the size of sample. There was 1 independent variable and 2 dependent variables. The researches were one group pretest posttest design. There were three research tools the researchers constructed for collecting data. There were 4 ways for testing the quality of the tools. The period for collecting data was 11–20 hours. The basic statistic used for analyzing data were percentages, mean and standard deviation and t-test dependent was used for hypotheses testing. The samples were dependent. Mostly the researchers analyzed data themselves. The results of hypothesis testing achieved with the set hypotheses.

2. The theses results classified in issues were as follows:

2.1 For development of curriculum, the theses relating to development of school curriculum, integrated curriculum and training seminar had the efficiency of standard criterion, suited for application and after students learning through these curriculum their achievement was higher than before. The these relating to the study of conditions, problems and the development of educational institutes faced   extreme problems in developing school curriculums and it should have the preparation of educational institute, curriculum instruction, using curriculum, curriculum evaluation and curriculum development to solve the problems.

2.2 For development of instructional methods, the theses relating to conceptual learning process showed that learning achievement of students after learning by using different conceptual learning process was higher than that of before. The these relating to solving learning organization indicated that mathematical solving skill, learning achievement, reading-loving character, moral and reading problem could be improved.

2.3 For development of medias, the theses relating to studying with learning medias, learning medias with different teaching techniques and learning medias with different learning concepts showed that learning medias reached the standard efficiency and the achievement of students after learning through learning medias with different teaching techniques and learning medias with different learning concepts was higher than that of before.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 3

วันนี้: 244

เมื่อวานนี้: 833

จำนวนครั้งการเข้าชม: 795,077

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033