...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2555
หน้า: 149-155
ประเภท: บทความวิจัย
View: 236
Download: 107
Download PDF
การพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Development of Science Skills Practice Packages on Electricity In Daily Life for Mathayom Saksa 3
ผู้แต่ง
พวงเพชร บุตรศรี, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, ประยูร บุญใช้
Author
Phuangphet Bootsri, Bhumbhong Jomhongbhibhat, Prayoon Boonchai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอุ่มเหม้าประชาสรรค์ จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ชุดฝึกเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าที (t-test ชนิด Dependent Samples)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ชุดฝึกเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ E1/E2 = 81.47/82.38

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.41 อยู่ในระดับพอใจมาก

นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพยังพบว่า นักเรียนมีการพัฒนาทักษะกระบวนการทางความคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนก การแยกแยะให้เหตุผล และการหาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ของข้อมูลที่ศึกษาจากการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้นักเรียนทำงานอย่างเป็นระบบ นำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการทำงานได้เหมาะสม

Abstract

       The purposes of this research were: 1) to improve and validate the efficiency of Science Skills Practice Packages on Electricity in Daily Life for Mathayom Saksa 3 2) to compare the achievement prior and after the students had learned through Science Skills Practice Packages on Electricity in Daily Life for Mathayom Saksa 3 3) to compare the science process skills of the students after learning through Science Skills Practice Packages on Electricity in Daily Life for Mathayom Saksa 3 4) to study the satisfaction Mathayom Saksa 3 students toward Science Skills Practice Packages on Electricity in Daily Life for Mathayom Saksa 3. The samples were 40 Mathayom Suksa 3 students of Ummaoprachasan School selected by Cluster Random Sampling. The equipments used in this research included: 1) 9 sets of Science Skills Practice Packages on Electricity in Daily Life for Mathayom Saksa 3 2) the achievement test. The statistics used in data analysis were mean, standard deviation and t–test (Dependent Samples).

The results from this research were the following:

1. Science Skills Practice Packages on Electricity in Daily Life for Mathayom Saksa 3 had the efficiency of 81.47/82.38.

2. The achievement score after learning through Science Skills Practice Packages on Electricity in Daily Life for Mathayom Saksa 3 was higher than before at the .01 level of significance.

3. The students’ satisfaction toward Science Skills Practice Packages on Electricity in Daily Life for Mathayom Saksa 3 was at the high level.

4. The science process skills of the students taught with Science Skills Practice Packages on Electricity in Daily Life for Mathayom Saksa 3 was higher than before.

The qualitative data analysis indicated that after learning through Science Skills Practice Packages on Electricity in Daily Life for Mathayom Saksa 3 the students improved their process science skills; Classification, Inferring and Space/Space Relation and Space/Time Relation which made them apply the knowledge on science for their work systematically and properly.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 309

เมื่อวานนี้: 833

จำนวนครั้งการเข้าชม: 795,142

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033