...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2555
หน้า: 125-132
ประเภท: บทความวิจัย
View: 169
Download: 74
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคหมวกหกใบและเทคนิค ผังกราฟิก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Development of the Instructional Activities Based on the Six Thinking Hats and Graphic Organizer Techniques to Enhance Analytical Thinking Ability in the Learning Substance of Social Studies, Religion and Culture for Mathayom Suksa 3
ผู้แต่ง
ศศินันท์ จันทร์ดี, กาญจนา วงษ์สวัสดิ์
Author
Sasinan Jandee, Kanjana Vongsawat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคหมวกหกใบและเทคนิคผังกราฟิก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคหมวกหกใบและเทคนิคผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ของ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 40 คน โรงเรียนเทศบาล 2 “เชิงชุมอนุชนวิทยา” ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แบบแผนวิจัยใช้แบบ One-Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน E1/E2 และค่าที (t-test Dependent samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. กิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิคหมวกหกใบและเทคนิคผังกราฟิก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ E1/E2 = 82.06/82.78 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80

2. นักเรียนมีคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคหมวกหกใบและเทคนิคผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนมีคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิคหมวกหกใบและเทคนิคผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคหมวกหกใบและเทคนิคผังกราฟิก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.44)

Abstract

The purpose of this research were to 1) develop of the instructional activities based on the Six Thinking Hats and Graphic Organizer techniques to enhance analytical thinking ability as the efficiency criterion set of 80/80, 2) compare the students’ thinking ability before and after learning through the Six Thinking Hats and Graphic Organizer techniques, 3) compare the students’ learning achievement before and after being taught by the Six Thinking Hats and Graphic Organizer techniques, and 4) identify the students’ satisfaction toward learning through the Six Thinking Hats and Graphic Organizer techniques to enhance analytical thinking ability. The samples consisted of 40 Mathayom Suksa 3/2 students of Thetsaban 2 School (Choeng Chum Anuchon Witthaya) in the second semester of academic year 2011. They were selected by Cluster Random Sampling. The one-group pretest-posttest design was utilized in this study. Statistics used were percentage, mean, standard deviation, Effectiveness of Activities : Effectiveness of Achievements (E1/E2), t-test (Dependent Samples).

The findings of this study were as follows:

1. The instructional activities based on the Six Thinking Hats and Graphic Organizer techniques to enhance analytical thinking ability in the Learning Substance of Social Studies, Religion and Culture for Mathayom Suksa 3 indicated that Effectiveness of Activities : Effectiveness of Achievements were at (E1/E2) = 82.06/82.78 which was higher than the set criteria of 80/80.

2. After the students had learned through the instructional activities based on the Six Thinking Hats and Graphic Organizer techniques to enhance analytical thinking ability, it was found that their analytical thinking ability was higher than that of before at the .01 level of significance as the criterion set.

3. After the students had learned through the instructional activities based on the Six Thinking Hats and Graphic Organizer techniques to enhance analytical thinking ability, it was determined that their learning achievements were statically different and higher than those of before the treatment at the .01 level of significance.

4. On the average, the satisfaction of Mathayom Suksa 3 students learning through the Six Thinking Hats and Graphic Organizer techniques to enhance analytical thinking ability in the Learning Substance of Social Studies, Religion and Culture was at the high level of 4.44.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 300

เมื่อวานนี้: 833

จำนวนครั้งการเข้าชม: 795,133

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033