...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2555
หน้า: 103-112
ประเภท: บทความวิจัย
View: 177
Download: 79
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟิก เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Development of Instructional Activities Using Graphic Organizers to Enhance Reading Comprehension in English for Mathayom Suksa 1
ผู้แต่ง
ปวีณสุดา ราชกรม, ประยูร บุญใช้
Author
Paweenasuda Rajchakrom, Prayoon Boonchai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร จำนวน 28 คน ที่กำลังเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน อ 21101 ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิคผังกราฟิก จำนวน 8 แผน แบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และแบบวัดเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษ ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test ชนิด Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน มีค่าเท่ากับ 86.65/86.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75

2. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนมีเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษเมื่อได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop the instructional activities using Graphic Organizers to enhance reading comprehension in English for Mathayom Suksa 1 based on the standard efficiency of 75/75, 2) to compare the students’ English reading comprehension proficiency gained before and after learning through the instructional activities developed by using Graphic Organizers, 3) to compare the students’ attitudes toward English reading possessed before and after learning through the developed instructional activities based on Graphic Organizers. The subjects of this study were 28 Mathayom Suksa 1/6 students enrolling in the first semester of the academic year 2011 at Kusumanwittayakom School. They were selected by using Cluster Random Sampling. The instruments used for this research were the 8 lesson plans based on Graphic Organizers, The test of reading comprehension and the attitude test toward English reading. The design of this study was One Group Pretest-Posttest Design.  The data were statistically analyzed by mean scores, standard deviation and percentage. The hypotheses were tested by the t-test (Dependent Samples).

The findings of this study were as follows:

1. The effectiveness of the instructional activities using Graphic Organizers to enhance reading comprehension in English for Mathayom Suksa 1 was at 86.65/86.70 which was higher than the set criterion of 75/75.

2. The students’ posttests of English reading comprehension proficiency by learning through the instructional activities based on Graphic Organizers to enhance reading comprehension in English was significantly higher than those of the pretests at .01 level.

3. After the students had learnt through the instructional activities using Graphic Organizers to enhance reading comprehension in English, their attitude towards the constructed instructional activities was statistically higher than that of before at .01 level of significance.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 31

วันนี้: 381

เมื่อวานนี้: 833

จำนวนครั้งการเข้าชม: 795,214

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033