บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 4) เพื่อศึกษาพหุปัญญาของนักเรียนหลังการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา และ 5) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนบ้านนาดอกไม้ กลุ่มเครือข่ายกุตาไก้ นามะเขือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.52/80.49 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา อยู่ในระดับมาก
4. พหุปัญญาของนักเรียนมีการพัฒนาขึ้น
Abstract
The objective of the research are ; 1) to develop mathematics teaching and learning activities along the theory of multiple intelligences titled “Adding two numbers with a sum not more than 9”, Prathom Suksa 1 2) to examine the efficiency of mathematics teaching and learning activities along the theory of multiple intelligences titled “Adding two numbers with a sum not more than 9”, Prathom Suksa 1 3) to compare the efficiency of mathematics teaching and learning activities along the theory of multiple intelligences titled “Adding two numbers with a sum not more than 9” 4) to study the intelligences after multiple mathematics teaching and learning activities and 5) to study the attitude in mathematics teaching and learning activities along the theory of multiple intelligences. The purposive sampling group was 27 Prathom Suksa 1 students of Ban Nadokmai School, Gudtagai Namakue network group, Nakhon Phanom Educational Area Office 1, the 1st semester, academic year 2010 by using One Group Pretest-Posttest Design.
The research instrument consisted of lesson plans, achievement tests and a measure of satisfaction. The statistics used were analyzed in percentage, mean, standard deviation and t-test (Dependent Samples).
The result of the research found that:
1. The mathematics teaching and learning activities along the theory of multiple intelligences titled “Adding two numbers with a sum not more than 9” which the researcher had developed was 79.52/80.49 effectively as higher than the 75/75 setting.
2. academic achievement of the students after studying by the mathematics teaching and learning activities along the theory of multiple intelligences titled “Adding two numbers with a sum not more than 9”, was higher than the previous study, with statistic significance at .01.
3. Student attitude with learning mathematics along the multiple intelligence theory was at a high level.
4. Multiple intelligence of the students have developed.
กำลังออนไลน์: 59
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,325
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,314
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033