...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2555
หน้า: 53-59
ประเภท: บทความวิจัย
View: 199
Download: 215
Download PDF
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ อย่างมีความสุขที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Effect of Mathematical Learning Activities Based on Learning Happiness Approach on the Learning Achievement of Mathayom Suksa 1 Students
ผู้แต่ง
จันทร์เพ็ญ ผางโยธา, สำราญ กำจัดภัย
Author
Junpen Pangyootha, Samran Gumjudpai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 3) เปรียบเทียบความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ของโรงเรียนอุ่มเหม้าประชาสรรค์ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 45 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในครั้งนี้ มี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ จำนวนเต็ม ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 12 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.46 ถึง 0.79 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.53 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 และแบบวัดความสุขในการเรียนรู้ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 34 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.89 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ชนิดไม่อิสระต่อกัน (Dependent Samples t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

1.  นักเรียนที่ได้รับการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ จำนวนเต็ม ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. นักเรียนที่ได้รับการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ จำนวนเต็ม ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับร้อยละ 85.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 75 ที่ตั้งไว้

3. นักเรียนที่ได้รับการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ จำนวนเต็ม  ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข มีความสุขในการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

This research aimed to: 1) compare the Mathayom Suksa 1 students’ learning achievement between before and after learning through Mathematical Learning Activities based on Learning Happiness Approach, 2) compare the students’ learning achievement after learning through Mathematical Learning Activities based on Learning Happiness Approach with the 75 percent criterion of total scores, and 3) compare students’ happiness of learning between before and after learning through Mathematical Learning Activities based on Learning Happiness Approach.  The sampling group was 45 Mathayom Suksa 1 students selected by Cluster Random Sampling, in the second semester of academic year 2011 technique, at Ummao Phrachasan School, That Phanom District, Nakhon Phanom Province. The research instruments used in this study were 12 lesson plans with the topics of addition, substraction, integer based on Learning Happiness Approach, including a learning achievement test of 40 items consisting of 0.46-0.79 difficulty, 0.30–0.53 discrimination, 0.91 reliability and a 5 rating scales of students’ happiness test which has 34 items with 0.35–0.89 discrimination, and 0.87 reliability.  The statistics used in data analysis were arithmetic mean, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).

The results showed that:

1. The students’ learning achievement after learning Mathematics of addition, substraction, integer based on Learning Happiness Approach was higher than before at the level of .01 significance.

2. The students’ learning achievement after learning Mathematics of addition, substraction, integer based on Learning Happiness Approach was at 85.40 percent which was higher than the set criterion of 75 percent.

3. The students’ happiness after learning Mathematics of addition, substraction, integer based on Learning Happiness Approach was higher than before at level of .05 significance.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 14

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,263

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,251

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033