บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนการสอน เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยชุดการเรียนการสอน เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอน เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านโพนวัฒนาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โดยการเลือกสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน และ t-test แบบกลุ่มเดียว
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ มีค่าเท่ากับ 79.83/78.33 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมาก
Abstract
The purposes of this research were: 1) to develop the instructional packages on the topic of cardinal numbers factor for Prathom Suksa 6 to meet the standard efficiency of 75/75 2) to compare the students learning achievement before and after learning by the instructional packages on the topic of cardinal numbers factor 3) to investigate the attitude toward the instructional packages on the topic of cardinal numbers factor. The samples of this study were 20 of Prathom Suksa 6 students from Banphonwattanawittaya School under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 1, enrolling in the first semester of the academic year 2011. The samples were selected by using cluster random sampling. The instruments of this research included the instructional packages on the topic of cardinal numbers factor for Prathom Suksa 6, a set of learning achievement test form and a set of questionnaires on the attitudes toward the instructional packages on the topic of cardinal numbers factor. To analyze the efficiency of the instructional packages on the topic of cardinal numbers factor for Prathom Suksa 6 and the attitudes, mean, standard deviation and percentage were used.
The findings of this study were as follows:
1. The efficiency of the instructional packages on the topic of Cardinal Numbers Factor for Prathom Suksa 6 was 79.83/78.33 which indicated the acceptable level.
2. The learning achievement of the instructional packages on the topic of Cardinal Numbers Factor for Prathom Suksa 6 was significantly different at the .01 level.
3. The attitudes of the students toward the instructional packages on the topic of Cardinal Numbers Factor for Prathom Suksa 6 were at the high level.
กำลังออนไลน์: 51
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,353
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,342
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033