บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคการกระตุ้นการคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคการกระตุ้นการคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคการกระตุ้นการคิด
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลกุสุมาลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 23 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) มีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ดำเนินการวิจัยใช้แผนการวิจัยแบบ One Group Pretest–Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t–test แบบ Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ด้วยเทคนิคการกระตุ้นการคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.54/83.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ด้วยเทคนิคการกระตุ้นการคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ด้วยเทคนิคการกระตุ้นการคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.77 หมายความว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this research were 1) to develop the instructional activities for enhancing creative writing ability by using motivated thinking techniques on Thai Learning Substance Group for Prathom Suksa 6 which contained the efficiency criteria of 80/80, 2) to compare the students’ creative writing ability gained before and after they had learnt through the instructional activities for enhancing creative writing ability by using motivated thinking techniques, 3) to investigate the students’ satisfaction of studying through the instructional activities for enhancing creative writing ability by using motivated thinking techniques.
The subjects consisted of 23 Prathom Suksa 6 students who were studying in the second semester of 2010 academic year at Anuban Kusumal School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1. They were selected by cluster random sampling method. One Group Pretest–posttest Design was adopted for this study. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation and t-test (Dependent Samples).
The study revealed the following results:
1. The development of the instructional activities for enhancing creative writing ability by using motivated thinking techniques on Thai Learning Substance Group for Prathom Suksa 6 contained the efficiency of 84.54/83.09 which was higher than the set criteria of 80/80.
2. After the students had learnt through the instructional activities for enhancing creative writing ability by using motivated thinking techniques, their learning creative writing ability was statistically higher than that of before at .01 level of significance.
3. On the average, these Prathom Suksa 6 students had their satisfaction of learning through the instructional activities for enhancing creative writing ability by using motivated thinking techniques at 4.77 which was at the highest level.
กำลังออนไลน์: 41
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,459
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,448
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033