...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2555
หน้า: 45-54
ประเภท: บทความวิจัย
View: 165
Download: 117
Download PDF
การพัฒนาหนังสือนิทานพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Development of Local Fabled Books to Enhance Thai Reading for Prathom Suksa 4
ผู้แต่ง
ฤทัยรัตน์ อยู่จันทร์, สำราญ กำจัดภัย, ดร.ประยูร บุญใช้
Author
Ruethairat Yujan, Sumram Gumjudpai, Prayoon Boonchai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ ได้กำหนดความมุ่งหมายของการวิจัยไว้ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาหนังสือนิทานพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยหนังสือนิทานพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อหนังสือนิทานพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดพระธาตุพนม “พนมวิทยาคาร” อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยการแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถทางการเรียนคละกัน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หนังสือนิทานพื้นบ้าน แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทย และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อหนังสือนิทานพื้นบ้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ \bar{x}, S.D., ประสิทธิภาพ E1/E2 และ t-test (Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. หนังสือนิทานพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดพระธาตุพนม “พนมวิทยาคาร” พบว่า มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 85.29/81.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80

2. ความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้หนังสือนิทานพื้นบ้านสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อหนังสือนิทานพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดพระธาตุพนม “พนมวิทยาคาร” อยู่ในระดับมาก

Abstract

This research aimed to: 1) develop the students’ reading to reach the standard efficiency of 80/80 criterion, 2) compare the ability of the students’ Thai reading before and after learning through the developed Local Fabled Books, 3) study students’ attitude towards the developed Local Fabled Books of Prathom suksa 4 students at Prathat Phanom Primary school (Panomwittayakarn), That Phanom District, Nakhon Phanom province. Purposively selected, the subjects were 50 students of Prathom suksa 4 students obtained through Cluster Random Sampling technique.

The instruments used in this study were the developed Local Fabled Books, a  Thai reading ability test and a satisfaction test of the developed Local Fabled Books. The statistics used to analyze data were mean, standard deviation, efficacy of E1/E2 and t-test (Dependent Samples).

The study revealed the following results:

1. The developed Local Fabled Books for enhancing Thai reading of Prathom suksa 4 students reached the efficiency of 85.29/81.20 which was higher than the set criterion of 80/80.

2. The Students’ ability of Thai reading after learning through the developed books was higher than that of before at the significant level of .01.

3. The students’ attitudes towards the developed books were at the high level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 26

วันนี้: 1,027

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,579

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033