...
...
เผยแพร่: 1 พ.ค. 2561
หน้า: 199-208
ประเภท: บทความวิจัย
View: 162
Download: 79
Download PDF
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาตามแนวคิดอภิปัญญา สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
Developing a Model of Instruction in the ‘Psychology for Teachers’ Course to Enhance the Problem Solving Ability Based on the Concept of Metacognition for Student Teachers at Sakon Nakhon Rajabhat University
ผู้แต่ง
อุษา ปราบหงษ์
Author
U-sa Prabhong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครูเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาตามแนวคิดอภิปัญญา สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนในรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครูเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาตามแนวคิดอภิปัญญา สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้รูปแบบเป็นนักศึกษาครู ชั้นปีที่ 2 จำนวน 77 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการในการเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 2. เอกสารประกอบรูปแบบการเรียนการสอน 3. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4. แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 5. แบบวัดความสามารถด้านอภิปัญญา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t แบบไม่อิสระต่อกัน t-test ชนิด Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มี 7 องค์ประกอบ คือ 1) ที่มาและความสำคัญ 2) แนวคิดพื้นฐาน  3) หลักการ  4) จุดมุ่งหมาย  5) เนื้อหา 6) กระบวนการเรียนรู้ และ 7) การวัดและประเมินผล โดยกระบวนการเรียนรู้ มี 4 ขั้น คือ 1. ขั้นตระหนักในปัญหา 2. ขั้นกำหนดเป้าหมายและวางแผน 3. ขั้นปฏิบัติการคิดและตรวจสอบ และ 4. ขั้นประเมินตนเอง

2. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า

2.1 นักศึกษาที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70

2.2 นักศึกษาที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70

2.3 นักศึกษาที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถด้านอภิปัญญาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70

Abstract

The purposes of this study were: 1) to develop a model of instruction in the ‘Psychology for Teachers’ course to enhance the problem solving ability based on the concept of metacognition for student teachers at Sakon Nakhon Rajabhat University and 2) to examine the results of implementing the model of instruction in the ‘Psychology for Teachers’ course to enhance the problem solving ability based on the concept of metacognition for student teachers at Sakon Nakhon Rajabhat University. The sample for experiment in using the model was 77 sophomore student teachers. The instruments used in the study were: 1) a questionnaire asking the problem state and need to enhance the problem solving ability, 2) supplementary materials for the instructional model, 3) a test of learning achievement, 4) a test of problem solving ability and 5) a test of metacognitive ability. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test for dependent samples.

Findings of the study revealed as follows.

1. The developed instructional model had 7 components, namely 1) source and importance, 2) basic concepts, 3) principles, 4) objectives, 5) content, 6) learning process and 7) measurement and evaluation.  In part of the learning process, there were 4 stages: 1) stage of being aware of the problem, 2) stage of targeting and planning, 3) stage of thinking and verifying and 4) stage of self-assessment.

2. The results of experiment in using the model were as follows.

2.1 Students who were taught using the developed instructional model had significantly higher ability in problem solving after learning than that before learning at the .01 level. And this problem solving ability was higher than the criterion preset at 70 percent.

2.2 Students who were taught using the developed instructional model had significantly higher learning achievement after learning than that before learning at the .01 level. And this learning achievement was higher than the criterion preset at 70 percent.

2.3 Students who were taught using the developed instructional model had significantly higher metacognitive ability after learning than that before learning at the .01 level. And this cognitive ability was higher than the criterion preset at 70 percent.

คำสำคัญ

รูปแบบการเรียนการสอน, การคิดแก้ปัญหา, แนวคิดอภิปัญญา

Keyword

Model of Instruction, Problem Solving, Concept of Metacognition
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 481

เมื่อวานนี้: 735

จำนวนครั้งการเข้าชม: 793,243

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033