...
...
เผยแพร่: 1 พ.ค. 2561
หน้า: 161-171
ประเภท: บทความวิจัย
View: 322
Download: 97
Download PDF
การพัฒนาคู่มือประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา เพื่อเสริมสร้างการมีสติ ความมีเหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยสงฆ์นครพนม
Development of Teaching Manual on Psychology for Teachers Using Social Cognitive learning Theory Along with Trisikkha Principle for Promoting Mindfulness, Reasonable and Educational Achievement of the Second Year Undergraduate Students at Nakhon Phanom B
ผู้แต่ง
ฉัตรชัย หมื่นสุข, มารศรี กลางประพันธ์, สมเกียรติ พละจิตต์
Author
Chatchai Muensuk, Marasri Klangprapan, Somkiat Palajit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาคู่มือประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา เพื่อเสริมสร้างการมีสติ ความมีเหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ที่มีประสิทธิผลตามเกณฑ์ 2) เปรียบเทียบการมีสติก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา ของนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 3) เปรียบเทียบความมีเหตุผล ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขาของนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ประชากรเป็นนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยสงฆ์นครพนม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา, คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ, คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์, จำนวน 1 ห้อง นิสิตรวมทั้งหมด 69 รูป/คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา จำนวน 37 รูป/คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างความน่าจะเป็น (Probability sampling) ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ชนิด ประกอบด้วย 1) คู่มือประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา จำนวน 9 ชุด 2) แบบทดสอบวัดการมีสติ จำนวน 60 ข้อ 3) แบบสอบถามวัดความมีเหตุผล จำนวน 60 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 60 ข้อ 5) แบบทดสอบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 60 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที (t-test Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-way ANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว (One–way MANOVA)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ค่าประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I.) ของคู่มือประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา มีค่าเท่ากับ 0.69 ความมีเหตุผล มีค่าเท่ากับ 0.70 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเท่ากับ 0.76 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ .50 ขึ้นไป

2. นิสิตที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยคู่มือประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา การมีสติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นิสิตที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยคู่มือประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา ความมีเหตุผลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The research aimed 1) to develop teaching manual on psychology for teachers using social cognitive learning theory along with Trisikkha principle for promoting mindfulness, reasonable and educational achievement of the second year undergraduate students with effectiveness based on criteria, 2) to compare mindfulness while and after studying using social cognitive learning theory along with Trisikkha principle for second year undergraduate students, 3) to compare reasonableness while and after studying using social cognitive learning theory along with Trisikkha principle for second year undergraduate students, The population used in this research were second year undergraduate students studying in Faculty of Education; department of Social Science, department of Teaching English, and Faculty of Social Science; department of Political Science, altogether 69 in Nakhon Phanom Buddhist College, 1st semester, and academic year 2558. Cluster Random Sampling was used to randomized the population in this research. As a sample group, 37 students from department of Social Science were used. The tools used in this research were divided into 2 section; 1) Teaching manual on psychology for teachers using constructivism along with Trisikkha principle, altogether 9 sets, and 2) Questionnaire on mindfulness containing 60 items, 3) Questionnaire on reasonable containing 60 items, 4) Questionnaire on educational achievement containing 60 items, and 5) Questionnaire on educational motivation for achivement ontaining 60 items and the statistics used in this research were percentage, standard deviation, t-test Dependent Sample, One-way ANOVA, and One-way MANOVA.

The results of the research revealed as follows:

1. The Effectiveness Index (E.I.) of teaching manual on psychology for teaching using social cognitive learning theory along with Trisikkha; mindfulness, reasonable and educational achievement had value of 0.69, 0.70, and 0.76 respectively which were higher than specified criteria i.e., .50.

2. The value level was high while comparing students after studying teaching manual on psychology for teaching using cognitive learning theory along with Trisikkha; mindfulness was statistically significant at level .05.

3. The value level was high while comparing students after studying teaching manual on psychology for teaching using cognitive learning theory along with Trisikkha; reasonable was statistically significant at level .05.

คำสำคัญ

คู่มือประกอบการสอน, จิตวิทยาสำหรับครู, ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา, หลักไตรสิกขา, การมีสติ, ความมีเหตุผล, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Keyword

Teaching manual, Psychogy for teachers, Social Learning Theory, main three practices, Consciousness, Rationality, Achievement
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 114

เมื่อวานนี้: 533

จำนวนครั้งการเข้าชม: 793,409

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033