บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการเชื่อมโยง และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 52 คน แบบแผนการวิจัยใช้แบบ One–Group Pretest–Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ t-test (Dependent Samples) และค่าสถิติ t-test (One-sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ ที่ใช้กระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ ที่ใช้กระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภายหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purpose of the research was to study the effects of learning management using mathematical modeling on problem solving, connection skills, and attitude towards mathematics of Mathayom Suksa 3 students. The sampling group of this study was 52 Mathayom Suksa 3 students, in the first semester of academic year 2012, from Sakonrajwittayanukul School under the Office of Secondary Educational Service Area 23, Mueng District, Sakon Nakhon Province. The One-Group Pretest–Posttest design was employed in this study and the statistics used to analyze the data were t-test (Dependent Samples) and t-test (One Sample).
The results of this research were as follows :
1. The mathematical problem solving abilities of Mathayom Suksa 3 students after learning through the learning management using mathematical modeling on problem solving abilities were higher than before at the level of .01 significance.
2. The students’ abilities of mathematical problem solving after participating in the learning management using the mathematical modeling were higher than the set criterion of 70 percent, at the .01 level of significance.
3. The connection skills of the students after engaging the learning management using mathematical modeling were higher than before at the .01 significance.
4. The connection skills of the students after engaging the learning management using mathematical modeling were higher than the set criterion of 70 percent, at the .01 level of significance.
5. The attitude of the students towards mathematics after learning through mathematical modeling was higher than before at the .01 level of significance.
กำลังออนไลน์: 51
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,445
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,434
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033