...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2556
หน้า: 55-65
ประเภท: บทความวิจัย
View: 348
Download: 218
Download PDF
ปัจจัยบางประการที่มีความสัมพันธ์กับการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนการไปรษณีย์ โรงเรียนการไปรษณีย์ กรุงเทพมหานคร
Factors Related to the Problem Solving of the Postal Students at Postal School, Bangkok
ผู้แต่ง
วรัฏฐา ใครบุตร, มารศรี กลางประพันธ์, อุบลศิลป์ โพธิ์พรม
Author
Warattha Khraibut, Marasri Klangprapan, Ubonsin Phoprom

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพยากรณ์กับการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนการไปรษณีย์ โรงเรียนการไปรษณีย์ 2) สร้างสมการเชิงพยากรณ์การคิดแก้ปัญหาของนักเรียนการไปรษณีย์ โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นบันได กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนการไปรษณีย์ โรงเรียนการไปรษณีย์ ภายใต้การควบคุมของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 237 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการคิดแก้ปัญหา แบบวัดการจัดการความรู้ แบบวัดการคิดวิเคราะห์ แบบวัดการคิดวิจารณญาณ แบบวัดการคิดแบบโยนิโสมนสิการ แบบวัดการคิดสร้างสรรค์ แบบวัดความเชื่ออำนาจในตน แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบวัดความสามารถในการฟันฝ่าปัญหาอุปสรรค และแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นบันได (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพยากรณ์แต่ละตัวกับตัวแปรเกณฑ์ พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็นบวกทุกค่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรเกณฑ์สูงสุด คือ การคิดวิจารณญาณ (X3) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.499 ส่วนตัวแปรพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรเกณฑ์ต่ำที่สุด คือ การคิดวิเคราะห์ (X2) คือ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.187

2. ตัวแปรพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์กับการคิดแก้ปัญหา มีน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรพยากรณ์แต่ละตัวในรูปคะแนนดิบ (b) ตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ การจัดการความรู้ (X1) การคิดสร้างสรรค์ (X5) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X7) ความฉลาดทางอารมณ์ (X9) และการคิดแบบโยนิโสมนสิการ (X4) ค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (B) เท่ากับ .435, .513, -.763, .310 และ .518 ตามลำดับ ในรูปคะแนนมาตรฐาน (ß) เท่ากับ .328, .466, -.753, .273 และ .465 ตามลำดับ ตัวพยากรณ์ทั้งหมดมีอำนาจในการพยากรณ์ได้ร้อยละ 71.90 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .854 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์ เท่ากับ 3.29 ค่าคงที่ของสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบเท่ากับ 35.601 สามารถนำมาสร้างสมการพยากรณ์การคิดแก้ปัญหาของนักเรียนการไปรษณีย์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้

สมการพยากรณ์การคิดแก้ปัญหาของนักเรียนการไปรษณีย์ในรูปคะแนนดิบ

Y’  = 35.601 + .435X1 + .513X5 - .763X7 + .310X9 + .518X4

เมื่อ  Y’  แทน    การคิดแก้ปัญหา

X1   แทน    การจัดการความรู้

X5  แทน    การคิดสร้างสรรค์

X7  แทน    แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

X9  แทน    ความฉลาดทางอารมณ์

X4  แทน    การคิดแบบโยนิโสมนสิการ

สมการพยากรณ์การคิดแก้ปัญหาของนักเรียนการไปรษณีย์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

Z’Y = .328ZX1 + .466ZX5 - .753ZX7 + .273ZX9 + .465ZX4

เมื่อ  Z’Y แทน    การคิดแก้ปัญหา

ZX1 แทน    การจัดการความรู้

ZX5 แทน    การคิดสร้างสรรค์

ZX7 แทน    แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

ZX9 แทน    ความฉลาดทางอารมณ์

ZX4 แทน    การคิดแบบโยนิโสมนสิการ

Abstract

The purposes of this study were to 1) explore the relationship between predictors and factors influencing the problem solving of the postal students in Postal School, Bangkok 2) make the equations for predicting the solving of problem of the postal students using Stepwise Multiple Regression Analysis. Samples used in this study were 237 students studying in Postal School under the Thailand Post Co,Ltd., Bangkok, selected through the purposive sampling technique. The instruments employed were composed of the problem solving scale, knowledge management scale, analytical thinking scale, critical thinking scale, critical reflection scale, creative thinking scale, internal Locus of Control scale, achievement motive scale, adversity quotient scale and emotional quotient scale. Data were analyzed by using mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The findings of this study were as follows :

1. The correlation coefficient between each predictor and the criterion variable revealed that it had the positive relationship with the problem solving at the .05 level of significance. The predictor that had the highest relationship with the problem solving was critical thinking (X3) with the correlation coefficient of .508, whereas the predictor that had the relationship with the criterion variable at the lowest level was analytical thinking (X2) with the correlation coefficient of 0.182.  

2. Each effective predictor obtained the relationship with the solution  of problems with the values in raw scores in the following orders: (Y)  knowledge management (X1) = .435, creative thinking (X5) = .513, achievement motive (X7) = -763, emotional quotient (X9) = .310, critical reflection (X4) = .518. The predictive coefficients values in standardized scores forms (ß) were .328, .466, -.753, .273 and .465 respectively. The predictive coefficients value (R2) was .854; the validity was 71.90 percent; the standardized deviation was 3.29; and the stable value in forms of raw scores was 35.601. The findings could be applied in forms of raw scores and standardized scores in predictive equations as follows:

The equation of Regression Analysis in the raw score forms :

 Y’    = 35.601 + .435X1 + .513X5 - .763X7 + .310X9   + .518X4

When  Y’         represented       Problem Solving

X1         represented       Knowledge Management

X5         represented       Creative Thinking

X7         represented       Achievement Motive

X9         represented       Emotional Quotient: EQ

X4         represented       Critical Reflection

The equation in standardized score forms :                       

Z’Y   = .328ZX1 + .466ZX5 - .753ZX7 + .273ZX9 + .465ZX4

When  Z’Y        represented       Problem Solving

ZX1        represented       Knowledge Management

ZX5        represented       Creative Thinking

ZX7        represented       Achievement Motive

ZX9        represented       Emotional Quotient: EQ

ZX4        represented       Critical Reflection.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 53

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,309

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,298

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033