บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ปุ๋ยชีวภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบ้านหนองม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม 4) เพื่อศึกษาทักษะปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 29 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านหนองม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการปฏิบัติงาน แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพของหลักสูตร E1/E2 และทดสอบค่าที (t-test) ชนิดไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ปุ๋ยชีวภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องและประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรที่สร้างขึ้นพบว่ามีความเหมาะสมมากที่สุดสามารถนำไปใช้ได้
2. หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมมีประสิทธิภาพ 91.21/86.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่สร้างขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ทักษะปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับร้อยละ 95.86 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 80
5. ความพึงพอใจของนักเรียนหลังใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่สร้างขึ้นพบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this study were: 1) to develop an additional curriculum entitled “Bio-fertilize” for Prathom Suksa 6, Nongmuang School, Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3, 2) to investigate the efficiency of the developed curriculum based on the standard criteria of 80/80, 3) to compare the students' achievements obtained before and after they had learnt through the developed additional curriculum, and 4) to explore the students' satisfaction of learning through the developed curriculum.
The subjects were 29 Prathom Suksa 6 students who were studying in the second semester of 2013 academic year at Ban Nongmuang School, Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3. They were purposively selected.
The instruments included an achievement test, a test to measure the students’ operational skill, a questionnaire to survey the students' satisfaction. The statistics used for data analysis consisted of percentage, mean, standard deviation, curriculum effectiveness (E1/E2), and t-test (Dependent Samples).
The study revealed the following results:
1. The additional curriculum entitled “Bio-fertilizer” was considered accurate and suitable. The documents created were evaluated as most appropriate for adopting to teach or any use.
2. The developed additional curriculum contain its efficiency of 91.21/86.55 which was higher than the set criteria of 80/80.
3. After the students had learnt through the developed curriculum, their learning achievement was statistically higher than that of before at .01 level of significance.
4. After the students had learnt through the developed curriculum, their working or operational skill had increased to reach 95.86* percent which was higher than the established criteria of 80 percent.
5. The students’ satisfaction of learning through the developed curriculum was at the highest level.
คำสำคัญ
หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม, ปุ๋ยชีวภาพKeyword
Additional curriculum, Bio-fertilizerกำลังออนไลน์: 7
วันนี้: 965
เมื่อวานนี้: 1,202
จำนวนครั้งการเข้าชม: 973,202
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033