บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง เขื่อนน้ำอูน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแร่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตรฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแร่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 30 คน และการวิจัยใช้รูปแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดเจตคติต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test ชนิด Dependent Samples
ผลการวิจัย พบว่า
1. หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมที่สุดและมีประสิทธิภาพ 83.45/84.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนรู้ด้วยหลักสูตรฯ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีเจตคติต่อหลักสูตรฯ ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this study were to : 1) develop the supplementary school curriculum entitled “Nam-Oon Dam” for Prathom Suksa 5 students at Banrae School under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 2 to meet the efficiency criteria of 80/80, 2) compare the students’ learning achievements between before and after learning with the developed curriculum, 3) investigate the students’ attitudes after being taught by the developed curriculum. The samples consisted of 30 Prathom Suksa 5 students at Banrae School under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 2. One Group Pretest-Posttest Design was employed. The instruments used were: the developed curriculum and supplementary curriculum materials, a test for measuring learning achievements, and a form of attitude measurement. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, efficiency (E1/E2) and t-test (Dependent Samples).
The findings were the following:
1. The developed curriculum had the highest level of suitability and reached the efficiency of 83.45/84.25, higher than the set criterion of 80/80.
2. The students’ learning achievements after learning through the developed curriculum was higher than before learning at the .01 level of significance.
3. The students’ attitudes towards the developed curriculum were at the highest level.
คำสำคัญ
หลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม, เขื่อนน้ำอูนKeyword
The Supplementary School Curriculum, Nam–Oon Damกำลังออนไลน์: 26
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,618
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,607
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033