...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2558
หน้า: 223-235
ประเภท: บทความวิจัย
View: 214
Download: 216
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง มะรุมพืชมหัศจรรย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโพนงามโคกวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Development of the school Curriculum’s Additional subject Entitled “Horseradish: A Magical Plant” for Prathom Suksa 6 of Phon-ngamkhok Wittayakarn school under the office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1
ผู้แต่ง
วราภรณ์ วรพันธุ์, อุษา ปราบหงษ์
Author
Waraporn Woraphan, Usa Prabhong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง มะรุมพืชมหัศจรรย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนโพนงามโคกวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง มะรุมพืชมหัศจรรย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโพนงามโคกวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 3) ศึกษาทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง มะรุมพืชมหัศจรรย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโพนงามโคกวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโพนงามโคกวิทยาคาร ที่มีต่อหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง มะรุมพืชมหัศจรรย์ 

กลุ่มตัวอย่างในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโพนงามโคกวิทยาคาร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการปฏิบัติงาน แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพของหลักสูตร E1/E2 และทดสอบค่าที t-test ชนิดไม่เป็นอิสระแก่กัน (Dependent Samples) และทดสอบกลุ่มเดียวหลังเรียน (One Samples test)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง มะรุมพืชมหัศจรรย์ ได้กำหนดองค์ประกอบของหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วิสัยทัศน์ ภารกิจ จุดมุ่งหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ คุณภาพของผู้เรียน ผังมโนทัศน์ โครงสร้างหลักสูตร สาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้และจุดประสงค์การเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียน แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดผลและการประเมินผล

ผลการประเมินหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง มะรุมพืชมหัศจรรย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโพนงามโคกวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44

ผลการทดลองใช้หลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง มะรุมพืชมหัศจรรย์ ที่พัฒนาขึ้นพบว่า หลักสูตรสถานศึกษามีประสิทธิภาพ 85.94/87.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80 

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ผ่านการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

3. ทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนที่ได้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 86.06 ของคะแนนเต็ม ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 

4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง มะรุมพืชมหัศจรรย์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67

Abstract

This study was conducted with the following purposes: 1) to develop the school curriculum’ s additional subject entitled “Horseradish : A Magical Plant” for Phathom  Suksa 6  of  Phon-ngamkhok  Wittayakarn  School  under  the office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 to contain its efficiency of 80/80, 2) to compare the students’ learning achievement possessed before and after Magical Plant” for Prathom akusa 6 of Phon-ngamkhok Wittayakarn school under the office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1, 3) to investigate the students’ operational skills formed through the school curriculum’s additional subject entitled “Horseradish : A Magical plant” for Prathom  Suksa 6 of Phon-ngamkhonk WittayaKarn School under the office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1, 4) to explore the students’ satisfaction of learning through the school curriculum’s additional subject entitled “Horseradish : A Magical Plant” for Prathom Suksa 6 of Phon-ngamkhok Wittayakarn School under the office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1.

The subjects were 20 Prathom Suksa 6 student hwo were studying in the first semester of 2014 academic year at Phon-ngamkkhok Wittayakarn School. They were purposively selected.

The instrument included an achievement test, the form to measure the students’ operational skills, and a questionnaire to survey the students’ satisfaction. The statistics employed for data analysis were percentage, mean, standard deviation, the curriculum’s efficiency (E1/E2), t–test (Dependent Samples), and One Sample test.

These results were unveiled from the study:

1. The components of developing the school curriculum’s additional subject entitled “Horseradish : A Magical plant” for Prathom Suksa 6 of Phon-ngamkhok Wittayakarn School under the office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 consisted of principles and rationale; vision; mission; objectives; learner’s major capacities; desirable requirements; learner’s qualities, mind mapping; curriculum’s structure; learning substance; learning substance and the outcomes; learning substance; the outcomes and learning objective, course description; learning outcomes; learning units; guidelines on learning management; learning media and resources; evaluation an measurement.

The specialists had assessed the of developing school curriculum’s additional subject entitled “Horseradish: A Magical plant” for Prathom Suksa 6 of Phon-ngamkhok Wittayakarn School under the office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 it found that the curriculum together with it supplementary documents was suitable ant efficient at the high level (\bar{x} = 4.44).

An installment of the school curriculum’s additional subject entitled “Horseradish : A Magical plant” produced these results: the school curriculum had its efficiency of 85.94/87.06 which was higher than established criteria of 80/80.

2. After students had leant through the developing school curriculum, their learning achievement was statistically high  that of before at .01 level of significance.

3. The students’ operational skills formed through the developing school curriculum was averagely 86.06 percent which was higher than the set criteria of 80 percent.

4. The students’ satisfaction  learning through the school curriculum’s additional subject entitled “Horseradish : A Magical plant” was at the highest level (\bar{x} = 4.67).

คำสำคัญ

หลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม, มะรุมพืชมหัศจรรย์

Keyword

The school curriculum’s additional subject, Horseradish: A Magical plant
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 45

วันนี้: 116

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,851

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033