...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2558
หน้า: 175-184
ประเภท: บทความวิจัย
View: 592
Download: 219
Download PDF
การวิจัยปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาการอ่านคำควบกล้ำ ของนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนหนองทุ่มวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบึงกาฬ
Action Research on Solving Problems of Reading Cluster Words of Lower Secondary Education Students at Nongthumwittaya School under Office of Bueng Kan Primary Educational Service Area
ผู้แต่ง
ทันสมัย ทิพย์นม, อุษา ปราบหงษ์, พจมาน ชำนาญกิจ
Author
Tansamai Tipnom, Usa Prabhong, Potchaman Chamnankit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) แก้ปัญหาการอ่านคำควบกล้ำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนหนองทุ่มวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ นักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมิน ร้อยละ 80 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการอ่านคำควบกล้ำ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนหนองทุ่มวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 18 คน ระเบียบวิธีวิจัย ใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการ ซึ่งดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา 2) เตรียมการและออกแบบนวัตกรรมเพื่อใช้ในการพัฒนา 3) นำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนา โดยจำแนกเป็น 6 วงรอบ คือ วงรอบที่ 1 การอ่านออกเสียง ล วงรอบที่ 2 การอ่านออกเสียง ร วงรอบที่ 3 การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำแท้ ร วงรอบที่ 4 การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำแท้ ล วงรอบที่ 5 การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำแท้ ว วงรอบที่ 6 การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำไม่แท้ และ 4) ประเมินและสรุปผลการพัฒนา

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการอ่านคำควบกล้ำ จำนวน 6 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผนการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบย่อย 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านคำควบกล้ำ ตอนที่ 1 จำนวน 30 คำ ตอนที่ 2 แบบปรนัยเลือกตอบ จำนวน 40 ข้อ 5) สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน 6) พฤติกรรมการสอนของครู 7) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

ผลการทดสอบวัดความสามารถในการอ่านคำควบกล้ำ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนหนองทุ่มวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการ ร่วมกับชุดกิจกรรมการอ่านคำควบกล้ำ และใช้เทคนิคการเสริมแรง เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน เมื่อสิ้นสุดการพัฒนาทั้ง 6 วงรอบ พบว่า

1. นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 18 คน หลังการแก้ปัญหาการอ่านคำควบกล้ำ ตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม มีนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 100

2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการอ่านคำควบกล้ำอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64

Abstract

The study was conducted with the following purposes : 1) to solve the problems of reading cluster words of lower secondary education students at Nongthumwittaya School under the Office of Beung Kan Primary Educational Service Area to surpass the set criteria of 80 percent, 2) to investigate the students’ satisfaction of learning through the activity packages of reading cluster words. The target subjects were 18 Mathayom Suksa 1-3 studernts who were studying in the first semester of 2014 academic year at Nongthumwittaya School. The instruments consisted of 1) activity packages of reading cluster words, 2) lesson plans for reading clusters, 3) mini-tests taken during their studies, 4) a test of reading cluster words. The test was divided into two sections. Sections 1 included 40-item objective test while section 2 was for reading examination with 30 items. Other instruments were 5) a form to record the students’ behaviors, 6) a form to record the researcher’s instructional behaviors, 7) a questionnaire to survey the students’ satisfaction of learning through the activity packages for reading cluster words. The statistics used for data analysis were composed of mean, standard deviation and percentage.     

The study yielded these results:

1. Assessing each student’ ability to read cluster words by the test constructed by the researcher, it was found that all 118 students had passed the set criteria which was equivalent 100 percent.

2. The students’ satisfaction of learning through the activity packager of reading cluster words was at the highest level (\bar{x} = 4.64).

คำสำคัญ

วิจัยปฏิบัติการ, เทคนิคการเสริมแรง, ชุดกิจกรรมการอ่านคำควบกล้ำ

Keyword

Action research, Reinforcement technique, Cluster words reading packages
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 33

วันนี้: 174

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,909

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033