...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2558
หน้า: 123-131
ประเภท: บทความวิจัย
View: 165
Download: 214
Download PDF
การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามยุทธวิธี เมตาคอกนิชัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกุดสะกอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
The Development of Mathematical Problem-Solving Abilities Using Metacognitive Strategies for Prathom Suksa 6 student of Ban Kutsakoy School under The office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1
ผู้แต่ง
ไพจิต สรสิทธิ์, สำราญ กำจัดภัย
Author
Paijit Sorasit, Sumran Gumjudpai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกุดสะกอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกุดสะกอย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน  17 คน โดยมีเป้าหมายความสำเร็จ คือ จำนวนนักเรียนอย่างน้อยร้อยละ 80 มีคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 3) แบบบันทึกกระบวนการการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 4) แบบประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

ภายหลังการพัฒนานักเรียนทุกคน มีคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม โดยที่คะแนนต่ำสุดร้อยละ 76.00 คะแนนสูงสุด ร้อยละ 100 และคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 81.65

Abstract

This study was aimed to develop mathematical problem-solving abilities using metacognitive Strategies for Prathom Suksa 6 of Ban Kutsakoy school under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1. The target group was 17 students of Prathom Suksa 6 in the second semester of 2013 academic year at Ban Kutsakoy school. The students were expected to have the scores of mathematical problem–solving abilities, on the topic of application, passing the set criteria at 75 percent of the total scores. The instruments used for this research were : 1) a lesson plan, 2) an ability test of solving mathematical problems, 3) a record form of the mathematical problem–solving process, and 4) an evaluating form of learning activities. The statistics using in data analysis were percentage, mean and standard.

The results of the research were:

The results showed that after after 17 students had been developed, the students at least 80 percent had the abilities to solve mathematical problems. They passed the set criteria of 75 percent of the total scores. The lowest score was at 76.00 percent, the maximum was at 100 percent and average score was at 81.65.

คำสำคัญ

การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์, ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน

Keyword

Mathematical Problem–Solving, Metacognitive Strategies
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 15

วันนี้: 34

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,768

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033