...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2558
หน้า: 103-112
ประเภท: บทความวิจัย
View: 139
Download: 122
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์ และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Development of the Mathematics Learning Activities using Metacognitive Strategies on Addition and Subtraction of Number of Which Answers and Operands not Exceeding 1,000 for Prathom Suksa 2
ผู้แต่ง
เยาวพักตร์ โมราราษฏร์, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, พจมาน ชำนาญกิจ
Author
Yaowapak Moraras, Bhumbhong Jomhongbhibhat, Potchaman Chamnankit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์ และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์ และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน 3) ศึกษาเมตาคอกนิชันของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโคก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2557 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์ และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 แบบวัดเมตาคอกนิชัน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test Dependent Samples

ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

1. กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชันมีประสิทธิภาพ 87.20/79.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 70/70

2. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์ และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน มีระดับเมตาคอกนิชัน หลังเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด

4. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน มีความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were to : 1) develop an efficiency of the Mathematics Learning Activities using Metacognitive Strategies on Addition and Subtraction of Number of Which Answers and Operands not Exceeding 1,000 for Prathom Suksa 2 to reach the criteria of 70/70, 2) compare the students’ achievement gained before and after they had learned through the Mathematics learning activities, 3) examine students’ metacognitive after they had learned through the Mathematics Learning Activities, and 4) examine students’ satisfaction of learning through the developed Mathematics Learning Activities. The samples group consisted of 20 Prathom Suksa 2 students of Bankok School under the Office of Sakon Nakhon Elementary Educational Service Area 2. The instruments used in the research were: 1) the lesson plans, 2) an achievement test, 3) the Metacognitive test, and 4) the student’s satisfaction test. The statistics used in analyzing data were percentage, mean standard deviation and t-test (Dependent Samples).

The results of this research were to follows:

1. The developed Mathematics Learning Activities using Metacognitive Strategies on Addition and Subtraction of Number of Which Answers and Operands not Exceeding 1,000 for Prathom Suksa 2 had an efficiency of 87.20/79.25 which was higher than the set criteria of 70/70.

2. After the students had learned through of the Mathematics Learning Activities using Metacognitive Strategies on Addition and Subtraction of Number of Which Answers and Operands not Exceeding 1,000 for Prathom Suksa 2, their achievement mean score was statically higher than that of before at .01 level of significance.

3. After the students had learned through of the Mathematics Learning Activities using Metacognitive Strategies on Addition and Subtraction of Number of Which Answers and Operands not Exceeding 1,000 for Prathom Suksa 2, their metacognitive was at the level of the highest. 

4. The students’ satisfaction toward the developed Mathematics Learning Activities using Metacognitive Strategies on Addition and Subtraction of Number of Which Answers and Operands not Exceeding 1,000 for Prathom Suksa 2 was at the level of the highest.

คำสำคัญ

กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์, เมตตาคอกนิชัน

Keyword

Mathematics Learning Activity, Metacognitive Strategies
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 136

วันนี้: 1,230

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,782

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033