บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทย ตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) หาประสิทธิภาพหนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทย ตามมาตราตัวสะกด 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย ตามมาตราตัวสะกด ระหว่างก่อนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทยตามมาตราตัวสะกด กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแร่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ได้แก่ หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทย ตามมาตราตัวสะกด แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถการอ่านและการเขียนภาษาไทย ตามมาตราตัวสะกดและแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อการประเมินหนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทย ตามมาตราตัวสะกด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54)
2. ประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทย ตามมาตราตัวสะกด มีประสิทธิภาพ 84.38/84.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย ตามมาตราตัวสะกด ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทย ตามมาตราตัวสะกด หลังเรียนสูงว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ระดับความพึงพอใจของนักเรียน ต่อการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทย ตามมาตราตัวสะกด โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.19)
Abstract
The purposes of this research were to: 1) develop the books for reading and writing enhancement in Thai spelling section for Prathom Suksa 4 2) investigate the efficiency of the developed books for reading and writing enhancement in Thai spelling section, 3) compare the students’ achievements between before and after they had learned by using the books for reading and writing enhancement in Thai spelling section, and 4) study the students’ attitude toward learning by using the developed books for reading and writing enhancement in Thai spelling section. The samples of this study were 22 Prathom Suksa 4 students who were enrolling in the first semester of Ban Rae School under the Office of Sakon Nakhon Educational Prathom Suksa Service Area 2 in academic year 2014 using purposive sampling technique. The instruments used in the study consisted of the developed books for reading and writing enhancement in Thai spelling section, an lesson plans, achievement test, and a set of questionnaire to survey and measure the students’ attitude toward learning by using the developed books for reading and writing enhancement in Thai spelling section. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation and t-test (Dependent Samples).
The findings were as follows:
1. The opinions of the experts for evaluating the developed books for reading and writing enhancement in Thai spelling section was at the highest level at ( = 4.54).
2. The developed books for reading and writing in Thai spelling section had its efficiency of 84.38/84.89 which higher were than the set criteria of 80/80.
3. After the students had learnt through the developed books for reading and writing enhancement in Thai spelling section, their achievement was statistically higher than before at the .01 level of significance.
4. The students had satisfaction toward the encouraged books for reading and writing in Thai spelling section, as a whole, at the high level ( = 4.19).
คำสำคัญ
หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทยมาตราตัวสะกดKeyword
The books for reading and writing enhancement in Thai spelling sectionกำลังออนไลน์: 20
วันนี้: 42
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,777
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033