...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2558
หน้า: 61-69
ประเภท: บทความวิจัย
View: 196
Download: 77
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ประเพณีเซิ้งผีโขน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไฮหย่อง (ภูเงินประชานุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Development of the School Curriculum’s Additional Subject Entitled “Soeng Phi Khon Festival” of the Substance Learning Group on Social Study, Religion, and Culture, Mathayom Suksa 2 at Ban Haiyong School (Phu-ngoen Prachanukool) under the Office of Sakon
ผู้แต่ง
วันเพ็ญ เหลาพรม, พจมาน ชำนาญกิจ
Author
Wanphen Laoprom, Pochaman Chamnankit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ประเพณีเซิ้งผีโขน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไฮหย่อง (ภูเงินประชานุกูล) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไฮหย่อง (ภูเงินประชานุกูล) ที่ได้เรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านไฮหย่อง (ภูเงินประชานุกูล) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวนนักเรียน 28 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ หลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ประเพณีเซิ้งผีโขน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบประเมินหลักสูตรสถานศึกษา แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเพณีเซิ้งผีโขนและข้อมูลเกี่ยวกับท้องถิ่น แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดเจตคติต่อการเรียน โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยใช้ t-test (Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. หลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ประเพณีเซิ้งผีโขน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไฮหย่อง (ภูเงินประชานุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 มีประสิทธิภาพ 83.87/84.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ตามเกณฑ์ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไฮหย่อง (ภูเงินประชานุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ที่เรียนรู้โดยหลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาเพิ่มเติม เรื่องประเพณีเซิ้งผีโขน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.  เจตคติต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไฮหย่อง (ภูเงินประชานุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ที่ได้เรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ประเพณีเซิ้งผีโขน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Abstract

This study was conducted with following purposes : 1) to develop the curriculum of an additional subject entitled “Soeng Phi Khon Festival”, Mathayom Suksa 2 at Ban Haiyong School (Phu-ngoen Prachanukool) to contain the standard efficiency of 80/80, 2) to compare between the students’ achievements obtained before and after their learning through the developed curriculum, 3) to explore the attitude of Mathayom Suksa 2 students at Ban Haiyong School (Phu-ngoen Prachanukool) who learnt through the school curriculum. The subjects were 28 Mathayom Suksa 2/1 who were studying in the second semester of 2014 academic year at Ban Haiyoug School (Pho-ngoen Prachanukool). They were gained by cluster random sampling. The instruments included the school curriculum of an additional subject entitled “Soeng Phi Khon Festival” of the substance Learning Group on Social Study, Religion and Culture, Mathayom Suksa 2, the evaluation form to measure the school curriculum, an interview form for surveying the opinions on the conditions of and needs for the development of the school curriculum, an interview form for investigating opinions on “Soeng Phi Khon Festival” and for local information, achievement test, and a questionnaire to survey the students’ attitude toward learning. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test (Dependent Samples).

The study unveiled these results:

1. The school curriculum of an additional subject entitled “Soeng Phi Khon Festival” of the Substance Learning Group on Social Study, Religion and Culture, Mathayom Suksa 2 at Ban Haiyong School (Phu-ngoen Prachanukool) has its standard efficiency of 83.87/84.05 which was higher than the established criteria of 80/80.

2. After the students had learnt through the school curriculum of an additional subject entitled “Soeng Phi Khon Festival” of the Substance Learning Group on Social Study, Religion and Culture, Mathayom Suksa 2 at Ban Haiyong School (Pho-ngoen Prachanukool), their learning achievement was significantly higher than that of before at .01 statistical level.

3. The attitude of Mathayom Suksa 2 students at Ban Haiyong School (Phu-ngoen Prachanukool) under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 toward learning as a whole, was at the high level.

คำสำคัญ

หลักสูตรสถานศึกษา, รายวิชาเพิ่มเติม, ประเพณีเซิ้งผีโขน

Keyword

School Curriculum’s Additional Subject, Soeng Phi Khon Festival
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 133

วันนี้: 1,163

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,715

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033