...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2558
หน้า: 49-59
ประเภท: บทความวิจัย
View: 553
Download: 110
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามรูปแบบซิปปาและรูปแบบ การพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Developing of Learning Activities Dramatic Art Subject Using CIPPA Modal and Simpson’s Practical Skills Development Model in Mathayom Suksa 2
ผู้แต่ง
ฉวีวรรณ กุดหอม, อุษา ปราบหงษ์, พจมาน ชำนาญกิจ
Author
Chaweewan Gudhom, Usa Prabhong, Potchaman Chamnankit

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามรูปแบบซิปปาและรูปแบบการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามรูปแบบซิปปาและรูปแบบการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด 3) เปรียบเทียบทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามรูปแบบซิปปาและรูปแบบการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน หลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด 4) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามรูปแบบซิปปาและรูปแบบการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน หลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด และ 5) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชานาฏศิลป์ของนักเรียน ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามรูปแบบซิปปาและการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ก่อนเรียนและหลังเรียนและหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนพังโคนวิทยาคม อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 40 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ แบบวัดเจตคติต่อวิชานาฏศิลป์ และแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปาและรูปแบบการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบที (t-test) ชนิดไม่เป็นอิสระแก่กัน (Dependent Sampels) และทดสอบกลุ่มเดียวกับเกณฑ์ (One sample t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามรูปแบบซิปปาและรูปแบบการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (E1/E2) เท่ากับ 78.30/83.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามรูปแบบซิปปาและรูปแบบการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าเกณฑ์ 75% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามรูปแบบซิปปาและรูปแบบการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ 75% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามรูปแบบซิปปาและรูปแบบการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ 75% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. เจตคติต่อวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามรูปแบบซิปปาและรูปแบบการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าเกณฑ์ 75% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The puroses of this research were : 1) to develop the learning activities on dramatic art using CIPPA Modal and Simpson’s Practical Skills Development Modal in Mattayom Suksa 2 to achieve the efficiency of 75/75, 2) to compare the students’ learning achievements between after and before learning through the activities of dramatic art subject using CIPPA Modal and Simpson’s Practical Skills  Developmaent Model. Then to compare the students’learning achievements after learning with the set criterion, 3) to compare the students’ practical skills after learning with the set criterion, 4) to compare the students’ creative thinking of dramatic art after learning and before, then to compare after learning with the set criterion, and 5) to compare the students’ attitudes to dramatic art between after and before learning through the developed learning activitles using CIPPA Model and Simpson’s Practical Skills Development Model, and then to compare the students’ attitudes after learning with the set criterion.

The sampling group was 40 Mathayom Suksa 2 students in the second semester of academic year 2013 at Phangkhomwittayakhom School, under the office of Sakon Nakhon Secondary Educational service Area 23.

The instruments used in this research were the learning achievement test, the practical skills for dramatic art test, the creative thinking test for dramatic art, the attitude test to dramatic art and the lesson plans of dramatic art using CIPPA Model and Simpson’s Practical Skills Development Model. The statistics used to analyse the data of the research were percentage, mean, standard deviation, t-test for dependent samples, and t-test for one sample.

The findings were as the follows:

1. The efficlency of the developed learning activities for dramatic art subject using CIPPA Model and Simpson’s Practical Skills Development Model in Mathayom Suksa 2 was 78.30/83.96 which was higher than the set criterion of 75/75.

2. The students’ learning achievements after learning through the developed activities of dramatic art subject using CIPPA Model and Simpson’s Practical Skills Development Model indicated that the post-test average scores were higher than the pre-test average scores at .01 level of significance, and higher than the criterion of 75/75 at the.01 level of significance.

3. The students’ Practical Skills for dramatic art after the learning through the developed activities of dramatic art using CIPPA Model and Simpson’s Practical Skills Development Model the criterion of 75% at .01 level of significance.

4. The students’ creative thinking of dramatic art after learning through the developed activities was higher than the criterion 75/75 at the .01 level of significance.

5. The students’ attitudes to the dramatic art subject after learning through the developed activities were higher than before at the .01 level of significance and higher than the criterion of 75/75 at the .01 level of significance.

คำสำคัญ

กิจกรรมการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์, รูปแบบซิปปา, รูปแบบการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน

Keyword

Learning Activity for Dramatic Art, CIPPA Model, Simpson’s Practical Skills Development Model
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 124

วันนี้: 1,176

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,728

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033