บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้สมการการบวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็มบวก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโนนทรายคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ภายหลังการพัฒนาให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านโนนทรายคำ จำนวน 14 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้สมการการบวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็มบวก จำนวน 5 ชุด 2) แบบบันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน 4) แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน และ 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในแก้สมการการบวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็มบวก
การวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์สภาพปัญหาและหาแนวทางแก้ไข ขั้นตอนที่ 2 วางแผนดำเนินการแก้ปัญหาหรือพัฒนา ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการแก้ปัญหาหรือพัฒนา ขั้นตอนที่ 4 ประเมินและสรุปผลการพัฒนา โดยดำเนินการพัฒนาเป็น 5 วงรอบ คือ วงรอบที่ 1 พัฒนาพื้นฐานเกี่ยวกับสมการ วงรอบที่ 2 พัฒนาการแก้สมการการบวกและการลบ วงรอบที่ 3 พัฒนาการแก้สมการการคูณและการหาร วงรอบที่ 4 พัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาสมการ วงรอบที่ 5 พัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาสมการเมื่อโจทย์กำหนดตัวไม่ทราบค่าและเมื่อโจทย์ไม่กำหนดตัวไม่ทราบค่าแล้วนำข้อมูลที่ได้จากการพัฒนาในแต่ละวงรอบมาวิเคราะห์และปรับแผนพัฒนาในวงรอบต่อไป
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภายหลังการพัฒนานักเรียนทั้ง 14 คน มีความสามารถในการแก้สมการการบวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็มบวก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม
2. การนำกระบวนการวิจัยปฏิบัติการมาใช้ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD และเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL สามารถพัฒนาความสามารถในการแก้สมการการบวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็มบวก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มคละความสามารถ เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกัน รวมทั้งได้พัฒนาทักษะทางสังคมต่างๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะการคิดการแก้ปัญหา นักเรียนที่เก่งช่วยเหลือนักเรียนที่อ่อนกว่า ทำให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน ไม่เบื่อหน่าย นักเรียนแต่ละคนรู้จักหน้าที่และบทบาทของตน กล้าแสดงออก ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น การทำแบบทดสอบย่อยประจำชุดกิจกรรม ทำให้นักเรียนทราบระดับความสามารถและข้อบกพร่องของตนเอง สามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้ทันที การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันในการแก้โจทย์ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน คิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และมีความรอบคอบในการทำงานมากขึ้น
Abstract
This study was conducted to improve the ability to solve equations of adding, subtracting, multiplying, and dividing the integers of Prathom Suksa 6 students at Ban Nonsaikham school under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 to surpass the set criteria of 70 percent after the development. The target subjects were 14 Prathom Suksa 6 students who were studying in the first semester of 2014 academic year at Ban Nonsaikham school.
The instruments used in this development included 1) five activity packages of promoting the ability to solve equations of adding, subtracting, multiplying, and dividing the integers, 2) the form to record the results and effects of installing the learning activity packages, 3) the form to observe the students’ behaviors, 4) the form to record the students’ learning, and 5) the test to examine the students’ ability to solve equations of adding, subtracting, multiplying, and dividing the integers.
The investigation adopted an action research which comprised of 4 phases: 1) analyzing the conditions and status of the problems in order to find the solutions, 2) planning for development by fixing the found problems, 3) acting on solving the problems for the improvement, and 4) evaluating the planned development to conclude the investigation by employing 5 cycles of development that included: cycle 1) developing the basics involving equations, cycle 2) developing the equations of addition and subtraction, cycle 3) developing the equations of multiplication and division, cycle 4) developing the ability to solve mathematics questions of equations, cycle 5) developing the ability to solve mathematics equation questions which contained both the known and unknown variables. All information obtained from each cycle was collected and diagnosed and analyzed for the adjustment and improvement in the next cycles.
The study yielded these results:
1. After the development, all 14 students’ ability to solve equations of adding, subtracting, multiplying, and dividing the integers surpassed the set criteria of 70 percent.
2. An integration of action research, learning activity packages, STAD teaching technique, and KWDL technique to develop Prathom Suksa 6 students’ ability to solve equations of adding, subtracting, multiplying, and dividing the integers resulted positively in different dimensions. The students could learn together from their group formed from mixed capacities. These combined approaches helped build up the students’ mutual and group learning, mutual interaction, social skills-communication skills, team working skills, knowledge questing skills, and problem solving skills. The better students could assist those who were worse. They could have fun, interest and enthusiasm while studying. The students learnt to be responsible for their jobs; how to demonstrate their roles, dared to assert their thoughts, and to accept and listen to other people’s opinions. The mini-tests taken from different activity packages made the students recognize their potential and inabilities enabling them to fix the problems and mistakes right away. STAD and KWDL techniques helped them learn how to solve, think and analyze these problems and mistakes systematically. They became more careful when working on their jobs.
คำสำคัญ
การวิจัยปฏิบัติการ, การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD, เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDLKeyword
Action Research Learning Package, Cooperative Learning Techniques STAD, Cooperative Learning with STAD Together with KWDLกำลังออนไลน์: 31
วันนี้: 136
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,871
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033