...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2558
หน้า: 11-22
ประเภท: บทความวิจัย
View: 178
Download: 218
Download PDF
การพัฒนาชุดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Development of the Instructional Packages to Enhance Mathematical Process Skills and Learning Achievement for Prathom Suksa 4
ผู้แต่ง
ณัฏฐ์วรัตน์ เจริญศรี, สำราญ กำจัดภัย, อุษา ปราบหงษ์
Author
Nusvarus Jaraensri1, Sumran Gumjudpai, Usa Prabhong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนการสอน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนการสอน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอน

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาแกบึงเหล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 8 ชุด 2) แบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) ค่าเฉลี่ย 2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) ค่าร้อยละ 4) การทดสอบ t-test แบบ Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. ชุดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 77.31/80.95 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้

2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.67 อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด

Abstract

This study was conducted with the following purposes: 1) to develop the instructional packages to enhance Prathom Suksa 4 students’ mathematical process skills and learning achievement and to find their efficiency based on the set standard criteria of 75/75, 2) to compare the students’ mathematical process skills obtained before and after they had learnt through the instructional packages, 3) to compare the students’ learning achievement gained before and after they had learnt through the instructional packages, 4) to investigate the students’ satisfaction of learning through the instructional packages.

The subjects were 30 Prathom Suksa 4 students who were studying in the second semester of 2013 academic year at Ban Nakaebuenglek School under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 1. They were purposively sampling.

The instruments adopted in the study consisted of 1) eight instructional packages to enhance Prathom Suksa 4 students’ mathematical process skills and learning achievement, 2) the form to measure the students’ mathematical process skills, 3) an achievement test, 4) a questionnaire to survey the students’ satisfaction. The statistics used for data analysis were 1) mean, 2) standard deviation, 3) percentage, and 4) t–test (Dependent Samples).

The study unveiled these results:

1. The instructional packages to enhance Prathom Suksa 4 students’ mathematical process skills and learning achievement had their efficiency of 77.31/80.95 which was higher than the set standard criteria.

2. After the students had learnt through the instructional packages to enhance Prathom Suksa 4 students’  mathematical process skills and learning achievement, their mathematical process skills were statistically higher than those of before at .01 level of significance.

3. After the students had learnt through the instructional packages to enhance Prathom Suksa 4 students’ mathematical process skills and learning achievement, their learning achievement was statistically higher than that of before at .01 level of significance.

4. As a whole, the students’ satisfaction of learning through the instructional packages to enhance Prathom Suksa 4 students’ mathematical process skills and learning achievement was at the highest level (\bar{x} = 4.67).

คำสำคัญ

ชุดการเรียนการสอน, ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ

Keyword

Instructional Packages, Mathematical Process Skills, Learning achievement, Satisfaction
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 32

วันนี้: 62

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,797

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033