...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2558
หน้า: 93-102
ประเภท: บทความวิจัย
View: 268
Download: 218
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้แผนที่ความคิดและเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Developing Learning Activities of History Course for Enhancing Mathayom Suksa 1 Students’ Analytical Thinking Abilities by Using Mind map and Six Thinking hats
ผู้แต่ง
เฉลิมลักษณ์ เหลาแตว, อุษา ปราบหงษ์, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์
Author
Chalermluk Laotaew, Usa Prabhong, Bhumbhong Jomhongbhibhat

บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้แผนที่ความคิดและเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้แผนที่ความคิดและเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาประวัติศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้แผนที่ความคิดและเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาประวัติศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบ One Group Pretest–Posttest Designs กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านบัวราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดและเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาประวัติศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) ร้อยละ 2) ค่าเฉลี่ย 3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4) การทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้แผนที่ความคิดและเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 83.29/81.54 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80

2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนด้วย กิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้แผนที่ความคิดและเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้แผนที่ความคิดและเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. เจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาประวัติศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27

Abstract

This study was conducted with the following purposes: 1) to find the efficiency of the developed learning activities of history course for enhancing Mathayom Suksa 1 students’ analytical thinking abilities by using Mind Map and Six Thinking Hats based on the standard criteria of 80/80 2) to compare the students’ analytical thinking abilities obtained before and after they had learnt through the developed learning activities of history course for enhancing Mathayom Suksa 1 students’ analytical thinking abilities by using Mind Map and Six Thinking Hats, 3) to compare the students’ learning achievements gained before and they had learnt through the developed learning activities of history course for enhancing Mathayom Suksa 1 students’ analytical thinking abilities by using Mind Map and Six Thinking Hats, and 4) to investigate the students’ attitude toward history course. The research was an experimental study which adopted One Group Pretest–Posttest Design. The subjects were 30 Mathayom Suksa 1/1 students who enrolled in the second semester of 2013 academic year at Banbuarajbumrung School of Secondary Educational Service Area 23. They were gained through cluster random sampling. The instruments use included: 1) lesson plans constructed by using Mind Map and Six Thinking Hats, 2) the test to measure the students’ analytical thinking abilities, 3) the test to examine the students’ learning achievement, 4) the questionnaire to survey  the students’ attitude toward history course consisted of percentage, mean, standard, and t-test (Dependent Samples).

The study revealed the following results:

1. The efficiency of the developed learning activities of history course for enhancing Mathayom Suksa 1 students’ analytical thinking abilities by using Mind Map and Six Thinking Hats was 83.29/81.54 which was higher than the set criteria of 80/80.

2. After the students had learnt through the developed learning activities of history course for enhancing Mathayom Suksa 1 students’ analytical thinking abilities by using Mind Map and Six Thinking Hats, their analytical thinking abilities were statistically higher than those of before at .01 level of significance.

3. After the students had learnt through the developed learning activities of history course for enhancing Mathayom Suksa 1 students’ analytical thinking abilities by using Mind Map and Six Thinking Hats, their learning achievement was statistically higher than that of before at .01 level of significance.

4. On the average, the students’ attitude toward history course as a whole was at the high level   (\bar{x}  = 4.27).

คำสำคัญ

กิจกรรมการเรียนรู้, รายวิชาประวัติศาสตร์, การคิดวิเคราะห์, แผนที่ความคิด, การคิดแบบหมวกหกใบ

Keyword

Learning Activities, History Course, Analytical Thinking, Mind map, Six Thinking Hats
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 36

วันนี้: 171

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,906

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033