บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพของชุดแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนบท ร้อยกรองโดยเน้นรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียนบทร้อยกรองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนบทร้อยกรองโดยเน้นรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนบทร้อยกรองโดยเน้นรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านชะโนด 2 อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แบบแผนในการวิจัยใช้แบบ One Group Pretest Posttest Design
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนบทร้อยกรองโดยเน้นรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 ชุด 2) แบบวัดทักษะการอ่านและการเขียนบทร้อยกรอง 3) แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนบทร้อยกรองโดยเน้นรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการตรวจสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัย พบว่า
1. ชุดแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนบทร้อยกรองโดยเน้นรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.67/82.50 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ทักษะการอ่านและการเขียนบทร้อยกรองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยชุดแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนบทร้อยกรองโดยเน้นรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนบทร้อยกรอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยของนักเรียนโดยรวม เท่ากับ 4.57
Abstract
This study was conducted with the following purposes: 1) to develop and find the exercise packages of reading and composing poetry based on cooperative learning for Prathom Suksa 6 to contain their efficiency of 80/80, 2) to compare the students’ reading and writing skills possessed before and after they had learnt through the exercise packages of reading and composing poetry based on cooperative learning for Prathom Suksa 6.
The subjects were 30 Prathom Suksa 6 student who were studying in the first semester of 2014 academic year at Ban Chanod 2, Dong Luang District, Mukdahan Province. They were obtained by cluster random sampling. One Group Pretest – Posttest design was adopted for this study.
The instruments included 1) 6 exercise packages of reading and composing poetry based on cooperative learning for Prathom Suksa 6, 2) the form to measure the students reading and writing skills, 3) a questionnaire to explore the students’ attitude towards learning through the exercise packages of reading and composing poetry based on cooperative learning for Prathom Suksa 6. The statistics employed for data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test (Dependent Samples).
The study unveiled these results:
1. The exercise packages of reading and composing poetry based on cooperative learning for Prathom Suksa 6 contained their efficiency of 81.67/82.50 which was higher than the set criteria of 80/80.
2. After the students had learnt through the exercise packages of reading and composing poetry based on cooperative learning for Prathom Suksa 6, their reading and writing skills were statistically higher than those of before at .01 level of significance.
3. The students’ attitude towards learning through the exercise packages of reading and composing poetry based on Cooperative Learning for Prathom Suksa 6 was at the highest level with the average mean of 4.57.
คำสำคัญ
ชุดแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน, บทร้อยกรอง, ชุดการเรียนรู้แบบร่วมมือKeyword
Reading and Writing Skills Exercise, Poetry, Cooperative Learning Modelกำลังออนไลน์: 31
วันนี้: 232
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,967
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033